10/10/2008

Instructional Skill Workshop (ISW) อนุกูล เยี่ยงพฤกษาวัลย์

Instructional Skill Workshop (ISW) เป็นการเสริมทักษะการสอน โดยจัดให้สอน หน่วยเล็ก ๆ ( Micro- Teaching ) คนละ 3 ครั้งๆละ 3 – 5 นาที กำหนดการสอนเป็น 5 ขั้นตอน และเมื่อเสร็จสิ้นแต่ละครั้ง เพื่อนในกลุ่มย่อยให้ข้อนมูลป้อนกลับ ( Feedback ) จะเน้นเชิงบวกและสร้างสรรค์ หรือให้ข้อเสนอแนะที่ไม่ทำร้ายความรู้สึก ทำให้เสียกำลังใจ แผนการจัดกระบวนการเรียนรู้
• ทักทาย/กล่าวนำ ( Bridge In )
• แจ้งจุดประสงค์ ( Objective )
• ตรวจสอบความรู้เดิม ( Pre-test )
• จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( Instruction )
• ตรวจสอบหลังการสอน ( Post-test )

การทักทาย/กล่าวนำ (Bridge In ) วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ลดช่องว่าง เตรียมความพร้อมที่จะเรียนรู้ ผู้สอนจึงควรยิ้มแย้มแจ่มใส ทักทาย พูดคุยเป็นไปในทางบวก ก่อนจะเข้าสู่การเรียนการสอน แจ้งจุดประสงค์ (Objective) ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะเป็นการให้ข้อตกลงหรือสัญญาว่า ผู้เรียนจะได้เรียนรู้อะไร และมีความหมาย เกิดประโยชน์กับชีวิตเขาอย่างไร ซึ่งจะสร้างความกระตือรือร้น กระหายใคร่รู้ให้เกิดกับผู้เรียน ตรวจสอบความรู้เดิม (Pre- test) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ทราบว่า ผู้เรียนมีพื้นฐานและมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆอย่างไร อีกทั้งเปิดโอกาสเป็นเวทีให้ผู้ที่รู้ได้แสดงตัวภูมิรู้ที่มีอยู่ให้คนอื่นได้รู้ เป็นบรรยากาศของการจัดการความรู้ ส่งเสริมให้ผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนได้ปรากฏอย่างภาคภูมิใจ ในโอกาสที่เหมาะสม ผู้สอนก็จะได้ เติมเต็มเท่าที่มีความจำเป็น ไม่ต้องมาพูดในสิ่งที่เขารู้กันแล้วให้น่าเบื่อหน่าย จัดกิจกรรมการเรียนการสอน (Instruction) ผู้สอนต้องศึกษาวัตถุประสงค์ ให้ชัดเจนว่า ต้องการให้เกิดความรู้ ทักษะ หรือเจตคติ แล้วจึงมาวางแผนจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยมีเนื้อหาสาระเป็นสื่อ เช่น การสาธิต กรณีศึกษา เกม ระดมสมอง บทบาทสมมุติ บรรยาย อภิปราย เป็นต้น ซึ่งผู้สอน ควรจะเลือกกิจกรรมการสอนให้หลากหลาย ชวนติดตาม น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ ตรวจสอบหลังการสอน (Post – test ) เป็นการตรวจสอบว่า สิ่งที่กำหนดเป็นวัตถุประสงค์ และแจ้งแก่ผู้เรียนนั้น บรรลุหรือไม่ หรือใครยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อผู้สอนจะได้ซ่อม และเสริมกับผู้เรียนที่เรียนล้ำหน้าไปแล้ว อีกทั้งทดสอบว่าผู้เรียนสามารถประยุกต์สิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันหรือไม่

--------------------------------

10/09/2008

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 11 (Letter to Dad No.11)

เดินทางท่องเที่ยวในประเทศออสเตรเลีย (Traveling Down Under)

ตัวผู้เขียนนั้นโชคดีมากที่ได้มีโอกาสอยู่ในหลายที่ เกิดและโตในประเทศไทย ทวีปเอเซีย เดินทางออกนอกประเทศครั้งแรกไปเรียนต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นก็ทำงานที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ได้มีโอกาสท่องเที่ยใในทวีปยุโรป การเลือกสมัครเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย ก็เพราะส่วนหนึ่งอยากได้มาอยู่ ท่องเที่ยว และสัมผัสชีวิตที่นี่

ประเทศออสเตรเลียแบ่งเป็น 6 รัฐ ใหญ่ Northern Territory, Western Australia, Queensland, New South Wales, Victoria, South Australia, และ Tasmania

เป็นประเทศที่เป็นทวีป (continent) อยู่ทางตอนใต้ (Southern Hemisphere) มีคนท้องถิ่น (aboriginal) กว่า 40,000 ก่อนคนยุโรปมาค้นพบใน 17th century เป็น Commonwealth of Australia แยกจากการปกครองของสหราชอาณาจักร ปี 1901 มี Canberra เป็นเมืองหลวง (อาจตัดสินใจไม่ได้ระหว่างเมืองใหญ่อย่าง Sydney และ Melbourne) ประชากรกว่า 20 ล้านคน ในปี 2008 และส่วนมากอยุ่ขอบๆประเทศติดทะเล เพราะตรงกลางประเทศเป็นทะเลทราย ฤดูกาลที่นี่ก็แตกต่าจากที่อื่น ฤดูร้อน (ธันวาคม – กุมภาพันธ์) ร้อนมาก 40 C ที่นี่อากาศแห้ง และแดดแรงมาก สถิติมะเร็งผิวหนังสูงกว่าที่อื่น ต้องใช้ยสกันแดดอย่างน้อย spf 30 ฤดูใบไม้ร่วง (มีนาคม – พฤษภาคม) ฤดูหนาว (มิถุนายน – สิงหาคม) หนาวที่สุดเดือนกรกฏาคม ก็เลยมีการจัดงาน Christmas in July ฤดูใบไม้ผลิ (กันยายน – พฤศจิกายน)

ประทสออสเตรเลียเป็นแหล่งที่อยู่สำคัญของ Marsupial เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีถุงหน้าท้อง (pouch) เช่น จิงโจ้ (Kangaroo), หมีดคล่า (Koala) กินต้นยูคาลิบตัส, พอสซั่ม (possum) น่ารักมาก มีเห็นทั่วไปตามต้นไม้ตอนกลางคืน, ตัววอมแบท (wombat) ประเศออสเตรเลียยังเป็นที่อยู่ของสัตว์อื่น เช่น ตุ่นปากเป็ด (platypus) นกอีมู (Emu) และจระเข้น้ำจืด เนื่องจาก ประเศออสเตรเลียเป็นประเศที่เป็นเกาะ และให้ความสำคัญกับสิ่งที่เข้ามาในประเทศจะมีผลต่อสภาพแวดล้อม Quarantine จึงมีการให้แสดงสิ่งที่นำเข้ามา (declare) โดยเฉพาะ อาหาร ผลิตภัณฑ์นม ผลไม้ หรือแม้แต่ มีคนเล่ากันว่าขี่รถอยู่ ก่อนจะข้ามเขตรัฐก็ต้องทิ้งผลไม้กันให้ยุ่ง

ตัวผู้เขียนอยู่ที่ Canberra ซึ่งป็นเมืองหลวงอยู่ในรัฐ New South Wales Canberra เป็นเมืองที่สร้างขึ้นมาจากจากผู้ที่การประกวดวางผังเมือง ตามแบบผู้ชนะ Walter Burley Griffin และ Marion Mahony Griffin มีทะเลสาปชื่อ Lake Burley Griffin สถานที่ท่องเที่ยวเช่น พิพิธภัณฑ์สงคราม (Australian War Memorial, National Gallery of Australia, National Museum of Australia) ข้อดีของการอยู่เมืองหลวงคือทุกย่างขึ้นต้นด้วย Australian แม้แต่มหาวิทยาลัย หรือคณะที่เรียน (National Centre) บริเวณนี้มี งานเทศกาลดอกไม้ผลิ (Floriade) เดือนกันยายน, เทศกาลลจุดเทียน (Nara Festival) เดือนกันยายน, Balloon fiesta เดือนมีนาคม เทศกาลสงกรานต์ที่วัด เทศกาลอาหารไทยที่สถานฑูต pot-luck party, picnic เล่นสกีที่ Thredbo ปีละครั้งประมาณเดือนกรกฎาคม สิงหาคม, Snowy Mountain (Hydro scheme) เป็นแลห่งผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่สำคัญของประเทศ

ปีแรกไป Sydney (Opera House ซึ่งเป็นสัญลักษณ์, Darling Harbour เป็นท่าเรือที่มีสีสรร, Blue Mountain สวยมาก Three sisters) Melbourne (Great Ocean road/Twelve Apostles, Philip Island ไปดูเพนกวินตัวเล็กๆขึ้นมาจากน้ำตอนตระวันตกดิน เขาก็โฆษณาว่ามันขึ้นมากันเป็นพันตัว ตอนไปดูเเห็นขึ้นมาจริงไม่ถึงร้อยตั กลายเห็นคนดูบนอัฒจรรย์มากกว่าเพนกวิน) Brisbane and Gold Coast (Surfer Paradise) Tasmania (Cradle Mountain, Port Arthur) สัตว์ท้องถิ่น Tasmanian devil ตัวเล็กแต่เป็นสัตว์กินเนื้อ แต่เป็นที่น่าเป็นห่วงมากที่จะสูญพันธ์จากมะเร็งหน้า (Devil facial tumour disease) และ Tasmanian Tiger (Thylacine) มีแถบที่บั้นท้าย แต่ว่าสูญพันธ์อย่างเป็นทางการในศตวรรษนี้

ปีที่สองไป Hervey Bay ไปดู Humback whales รวมทั้งไป Fraser Island เป็นเกาะที่เป็นทะเลทรายขาววทั้งเกาะ มีทะเลสาปน้ำจืด และหมา (สุนัข) Dingo ชึ่งเหลืออยู่ไม่มาก, New Zealand (South Island, Christchurch, Frans Josef and Fox Glacier, Milford Sound, และ Queenstown) ได้เป็น นกกีวีที่หายาก, แต่การเดินทางครั่งที่ประทับใจมาก น่าจะเป็น ที่ Alice Spring (Uluru หินศักสิทธิ์สีแดง, Olgas, King Canyon) ได้เห็นวัฒณธรรมของคนพื้นเมือง (Aboriginal), Cooper Pedy เป็นเหมืองเมืองซึ่งคนอยู่กันใต้ดิน เพราะร้อนมาก

ปีที่สามไป Cairns (Kuranda, Great Barrier Reef), Perth (Pinnacle desert, Rottnest Island), Darwin (Kakadu, Litchfield National Parks) ไปดูจระเข้กระโดดในแม่น้ำ ตอนเรียนนี่ก็หยอดกะปุกเก็บเงินที่ยวให้คุ้ม

นอกจากนั้นก็มีกิจกรรมประจำปีที่ผู้เขียนสนใจเป็นพิเศษเช่น Sydney Salsa Congress เดือนมกราคม, Darling Harbour Latin Fiesta เดือนตุลาคม, Australian Salsa Classic เดือนมกราคม, Tennis Australian Open ที่ Melbourne เดือน มกราคม สำหรับผู้ที่สนใจ ส่วนมากเวลาเดินทางในประเทศก็จะพักกับ Youth Hostel Association (YHA) ปลอดภัย มีทุกเมือง และราคาย่อย่อมเยาว์ สามารถทำบัตรสมาชิกได้จากประเทศไทย สายการบินในประเทศก็ราคาไม่แพงเช่น Tiger Air, Virgin Blue, Jet Star ถ้าจองล่วงหน้า

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 10 (Letter to Dad No.10)

Life after PhD

- What’s next? ผู้ที่รับทุนของรัฐบาลก็ต้องกลับไป ส่วนอื่นก็ต้องหางานทำ

- Postdoctoral fellow เป็นขั้นระหว่างรอวิทยานิพนธ์ตรวจและแก้ไข ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 6 เดือน มากถึง 4 ปี เป็นลักษณะการทำงานวิจัย และสอนแล้วแต่สถาบันจะกำหนด เป็นนักวิจัย เป็นการทำงานร่วมทีมกับนระหว่างรอ thesis ตรวจ เรียกย่อว่า postdoc ก็เป็นอิสระมากขึ้น และไม่มีความกังวล ถึงวิทยานิพนธ์ เล่มใหญ่ ก็ยังมีลานหลายชิ้นให้ทำไปพร้อมกัน บางคนก็เริ่มจากการเขียนทำ Thesis เป็นหลาย papers บางคนก็ใช้เวลานี้ปรับปรุง Thesis หาแหล่งทุหรือสำนักพิมพ์เป็นหนังสือ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน (transition) ในการหาเครือข่าย (networking) ในการทำงานร่วม (research collaborators)

- ผู้เขียนก็รับทุนทำ Postdoctoral Fellow 1 ปี หลังจากส่งวิทยานิพนธ์ ทุนจาก Welcome Trust และทำงานกับอาจารยืที่ปรึกษา แต่แค่ภายในไม่กี่สัปดาห์แรกก็เห้นความเปลี่ยนแปลงว่าอาจารย์ ให้อิสระมากขึ้น จากตอนเรียน เราเป็นคนเลือกหัวข้อในการเขียนผลงานเอง และไปขอคำปรึกษา แบะขอคำวิจารณ์งานเขียนเป็นระยะ สำหรับผู้ที่มีส่วนช่วยในงานเขียนมาก ก็จะได้เชิญเป็นผู้ร่วมเขียน (co-authors)

- ต้องมีการสมัครขอทุนการำวิจัยทั้งในและต่างประเทศ สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สภาการวิจัยแห่งชาติ องค์กรระหว่างประเทศเช่นองค์การอนามัยโลก World Health Organization หรือมูลนิธิต่างประเทศ GTZ องค์กรเกี่ยวกับการพัฒนาของประเทศเยอรมัน Rockefeller Foundation หรือ Ford Foundation ของประเศสหรัฐอเมริกา Wellcome Trust ของประเทศสหราชอาณาจักร

- ทางสายวิชาการนั้นก็แบ่งคร่าาวๆได้เป็น งานสอน (teaching) งานวิจัย (researching) งานธุรการ (administration) เช่นการเข้าประชุม การประเมินต่างๆ การสมัครขอทุน บางที่ก็เน้นทางการสอนด้วยสัดส่วน 70-20-10 ถ้าเป็นนักวิจัยก็อาจเป็น 20-70-10 หรือถ้าเป็นพวกผู้บริหารก็จะเป็น 10-10-80

- ระดับทางวิชาการเริ่มจากเป็น อ.ดร. (lecturer) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (Assistant Professor) รองศาสตราจารย์ (Associate Professor) ศาสตราจารย์ (Professor) จากการสน ทุนที่ได้รับ และผลงานเรขียนต่างๆ Postdoctoral Fellow, Research fellow/Fellow, Senior fellow, Professor ไปตามลำดับ ตามจำนวนคุณภาพของงานวิจัย และแหล่งทุน

- สำหรับต้วผู้เขียนนั้นก็เริ่มสมัครเข้าโครงการขององค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งส่วนมากเป็นโครงการ 2 ปี สำหรับผู้ที่อายุต่ำกว่า 32 ปี และจบอย่างน้อยระดับปริยญาโทด้วยประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 3 ปี ผู้สมัครทั่วโลกเป็นหมื่นคน ผ่านรอบแรกน้อยกว่าไม่ถึงพัน และสัมภาษณ์จริงเป็นหน่วยร้อย รับปีละ 35-50 คนต่อปี เ ช่น World Bank Young Professionals Program; Asian Development Bank Young Professionals Program, United Nations Development Programme The Leadership Development Programme (UNLEAD) งานอื่นในองค์กรระหว่างประเทศนั้น มีทั้งงานภาคสนาม (field operation) ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค (technical support) รวมทั้งงานวิจัยและนโยบาย (research and policy)