4/05/2008

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 9 (Letter to Dad No.9)

Year 3 Part II: ใกล้เส้นชัย (March 2007 – August 2008)

จำได้ว่าได้จัดรูปรวมเล่มครั้งแรก (first draft) ตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งก็เป็นเวลา 3 ปีพอดี เป็นแบบวิทยาพนธ์ที่มีโครงสร้าง เริ่มจาก กิตติกรรมประกาศ (acknowledgments) รร่างส่วนนี้มานานแล้วเป็นความรู้สึกที่ดีที่ความหมาย โดยเฉพาะเป็นการนึกถึงผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือ หลังจากนั้นเป็น บทคัดย่อ (abstract) บทนำ (introduction) บทวรรณกรรม (literature review) บทข้อมูลและวิธีการ (data and methodology) บทวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (descriptive data analysis) บทผลการศึกษา (main findings) บทอภิปราย นโยบาย และบทสรุป (discussion, policy implications, and conclusions) โดยเฉลี่ยประมาณ 8-10 บท ประมาณ 70,000-100,000 คำ หรือ 250-500 หน้าแล้วแต่ขนาดตัวอักษรและการจัดเรียงรูปเล่ม


ตอนแรกก็หวังว่าจะใช้เวลา 3 เดือน หรือประมาณ 100 วัน หมดแรง หมดไฟ เริ่มนับ 100 วันตั้งแต่เดือนมีนาคม รอแล้ว รอเล่าเฝ้าแต่รอ ก็ยังไม่เห็นวี่แวว ก็เลยเลิกนับในที่สุดการเขียนหนังสือเล่มนี้ระหว่างรอ ก็ช่วยได้ทีขึ้นมีลงจริงๆ ต้องหาเชื้อเพลิงเพิ่ม ถ้าเป็นการวิ่งมาราธอนก็คือจะหมดแรงก่อนถึงเส้นชัย ระหว่าง First draft to final draft นั้นอาจใช้เวลาถึง 6 เดือน เนื่องจาก ต้องรอคำวิจารณ์ (comments) จากอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นการรอคอยที่ทรหดจริงๆ ตัวเองโชคดีที่ได้อาจารย์ที่ปรึกษา 3 แบบ ท่านที่เป็นประธาน (Chair of supervisory panel) แกก็ดูเฉพาะภาพรวม เพราะแกต้องเป็นคนเซ็นให้ผ่าน อาจารย์างด้านสถิติตรวจดูบทวิธีการและเนือหาเทคนิค (technical details) อาจารย์ที่เป็นนักประชากรศาสตร์ดูรายละเดียด โดยเฉพาะความต่อเนื่อง (internal coherent) ภานในย่อหน้า (intra-paragraph) แลบะระหว่างย่อหน้า (inter-paragraph) แกละเอียดมาก แต่คำวิจารณ์ของแกเป็นประโยชน์มาก แต่ในที่สุดแล้วนักศึกษาก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบงานของตนเองท้ายที่สุด

The formatting เนื่องจากวิทยานิพนธ์ เป็นเอกสารที่ใหญ่ จาก เล่มเกือบเสร็จสมบูรณ์ (semi-final) ถึง เล่มเสร็จสมบูรณ์ (final draft) นั้นก็ดูกันจนนาทีสุดท้าย ทุกหน้า ทุกตาราง รูป ย่อหน้า การเรียนรู้และใช้โปรแกรมทุ่นเวลาตั้งแต่แรก เริ่มเรียนและฝึกใช้ เห็นถึงประโยชน์ของการไปเรียนโปรแกรมจัดหน้าแบบอัตโนมัติ Heading, cross-reference สำหรับตาราง ของ Microsoft Word document และรายการหนังสืออ้างอิง (โปรแกรม EndNote) เป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะการทำสารบัญ ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติ ประหยัดเวลาตอนท้ายไปได้เยอะมาก เพราะถ้าแก้อะไรหน่อย หน้าก็จะเลื่อน ข้อสำคัญมากอีกอย่างคือการตรวจเช็คกันดูอีกทีว่าไม่มีการลอกเลียนแบบประโยค (plagarism) ถึงแม้จะเป็นการเขียนใหม่ (paraphrase) และมีอ้างอิงแล้วก็ตาม เรื่องนี้เป็นปัญหาที่รักเรียนต่างชาติที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นเรื่องที่ร้ายแรงทางวิชาการ

The final printing and binding การเย็บรูปเล่มเพื่อเตียมส่งให้ผู้ตรวจ ยังไม่เย็บเป็นเล่มถาวร แบบเป็นห่วง ต้องจัดทำตามกฎของมหาวิทยาลัย ของตัวผู้เขียนค่อนข้างหนา 407 หน้า ก็เลยพิมพ์หน้าหลัง เพื่อลดความหนาลง

เมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยก็ติดต่อเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยพร้อมที่จะส่ง (thesis submission) เป็น ประเพณีที่เพื่อนๆต้องมาช่วยกันแห่ไปส่ง ตัวเองก็ไปส่งกับเพื่อนรุ่นพี่ประจำ ถือเป็นงานสำคัญ โชคดีที่ช่วงนั้นแม่มาเยี่ยมพอดี ก็เลยได้ไปด้วยกัน หลังจากนั้นก็จะมีการเลี้ยงฉลองกันทั้งเพื่อนในและนอกคณะ

เนื่องจากเราเสร็จรูปเล่มก่อนกำหนดหลายเดือนก็เลยมีเวลาแก้ไข้ค่อนข้างมาก เกิดอาการแปลกๆ ไม่อยากส่ง (letting go of the baby - ‘thesis’) ได้ยินมาว่าบางคนเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อาจเกิดอาการซึมเศร้า PhD blues เนื่องจากอยู่กับวิยานิพนธ์มาเป็นเวลาหลายปี ตื่นมาตอนกลางคืนก็ไม่มีอะไรให้นึกถึง วันสุดสัปดาห์ก็รู้สึกเปลี่ยวไม่มีอะไรให้กังวล

ส่วนขั้นต่อไปนั้น ผู้ตรวจ Examiners ที่มหาวิทยาลัยส่งไปตรวจนั้นประมาณ 2-3 ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ในกรณีผู้เขียนนั้น ผู้ตรวจเป็นนักสาธารณสุข (public health practitioners or researchers) นักระบาดวิทยา (epidemiologists) นักเศรษฐศาสตร์สุขภาพ (health economists) คงต้องผลรอประมาณ 2-4 เดือนเป็นต้นไป สถิติโดยทั่วไปผลที่ออกมาเป็นไปได้
- ผ่าน (pass as is) ประมาณ 10-15% ของวิทยานิพธ์ทั้งหมด
- ผ่านแก้เล็กน้อย (minor correction) เป็นกลุ่มใหญ่ 75%
- ผ่านแก้มาก (major correction) ไม่ผ่าน 10 %
- ไม่ผ่าน เทียบเท่าปริญญาโท (Master of Philosophy) 1-2%

ส่วนมากนักเรียนต่างชาติที่เสร็จแล้วก็จะกลับไปรอผล โดยเฉพาะคนที่มีพันธะกับที่ทำงานต้นสังกัด ส่วนตัวผู้เขียนนั้นจังหวะดีได้งานเป็น Postdoctoral Fellow ต่อกับคณะ ANU College of Medicine and Health Science อย่างน้อยจะได้สานงานเขียนและตีพิมพ์งานจากวิทยานิพนธ์ ในระหว่างรอให้ผลวิทยานิพนธ์กลับมาและจะได้จัดการให้เรียบร้อย

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 8 (Letter to Dad No.8)

My favorite quotes – สะสมข้อความเตือนใจ
“I am a strong believer in luck and I find the harder I work, the more I have of it.”ฉันไม่ใช่คนเชื่อเรื่องโชคมากมายนัก แต่ฉันพบว่ายิ่งฉันทำงานหนักขึ้นเท่าไหร่ ก็จะมีโชคมากขึ้นเท่านั้น —Benjamin Franklin

“There is a great difference between worry and concern. A worried person sees a problem, and a concerned person solves a problem.” ความแตกต่างระหว่างความวิตกกังวล และความครุ่นคิด คือ คนที่วิตกกังวลนั้นเห็นปัญหา คนที่ครุ่นคิดนั้นแก้ปัญหา–Harold Stephens

“If the facts don’t fit the theory, change the facts” ถ้าข้อมูลไม่เหมาะกับทฤษฎี ก็ให้เปลี่ยนชุดข้อมูลนั้น–Albert Einstein

“If you cann’t explain it simply, you don’t understand it well enough” ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย คุณยังไม่เข้าใจมันอย่างดีพอ –Albert Einstein

“If we knew what it was we were doing, it would not be called research, would it?” ถ้าพวกเรารู้ว่าพวากเรากำลังทำอะไรอยู่ มันก็คงไม่เรียกว่าการวิจัย –Albert Einstein

“Be like a duck, my mother used to tell me. Remain calm on the surface and paddle like hell underneath.”แม่ฉันบอกว่าให้ฉันทำตัวเหมือนเป็ด ให้ดูสงบบนพื้นผิวน้ำแต่ตีน้ำข้างใต้สุดกำลัง—Michael Caine

“When one door closes another door opens; but we so often so long so regretfully upon the closed door, that we do not see the ones which open for us” เมื่อประตูบานหนึ่งปิด อีกประตูหนึ่งจะเปิด แต่บางครั้งเราก็เศร้าใจกับประตูที่ปิดจนเราไม่เห็นประตูที่เปิดอยู่—Alexander Graham Bell

“If you want to live a happy life, tie it to a goal. Not to people or things.” ถ้าเราต้องการอยู่ชีวิตที่มีความสุข ให้ยึดไว้กับเป้าหมาย ไม่ใช่กับคนหรือสิ่งของ—Albert Einstein

“People are just as happy as they make up their minds to be”คนเราจะมีความสุขได้ดั่งที่ทำใจให้เป็นไป—Abraham Lincoln

“Be yourself; everyoneelse is already taken” เป็นตัวของตัวเอง คนอื่นก็เป็นเจ้าของตัวเองไปหมดแล้ว—Oscar Wilde

“Learn as it you were going to live forever. Live as if you were going to die tomorrow”เรียนรู้ว่าเราจะอยู่ตลอดไป ใช้ชีวิตอยู่เหมือนว่าเรากำลังจะตายพรุ่งนี้—Mahatma Gandhi

“It’s not that I’m so smart, it’s just that I stay with the problem longer” มันไม่ใช่ว่าฉันฉลาดมาก แต่ฉันอยู่กับปัญหานานกว่า—Albert Einstein

“Perseverance is the hard work you do after get tired of doing the hard work you already did.” ความไม่ย่อท้อคือการทำงานหนักหลังจากที่เหนื่อยจากงานหนักที่คุณทำไปแล้ว—Newt Gingrich

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 7 (Letter to Dad No.7)

Year 3 Part II: ความสมดุลในชีวิตนักเรียนปริญญาเอก (Balance in the life of PhD student)

เนื่องจากการเรียนปริญญาเอกนั้นเป็นช่วงเวลาหลายปี และเป็นช่วงเวลาที่เป็นผู้ใหญ่จึงมีปัญหาบางประการที่ซับซ้อนกว่าการเรียนสมัยมหาวิทยาลัยหรือระดับปริญญาโท ชีวิตการเดินทางไม่ได้หยุดด้วยในระหว่างเรียนดังนั้น ปํญหาส่วนตัว และการงานอาจมีผลกระทบต่อการเขียนวิทยานิพนธ์ไม่มากก็น้อย

ความเบื่อและความเหงา (loneliness and boredom)
การเรียนปริญญาเอกนั้น ถือได้ว่าเป็นช่วงที่ค่อนข้างโดดเดี่ยว เนื่องจากส่วนมากเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นการโชว์เดี่ยว (one-man show) เป็นคนคิดเอง ทำเอง ในที่สุดก็ชำนาญเรื่องที่ทำอยู่คนเดียว โดษเฉพาะตอนเขียนต้องใช้สมาธิ ความต่อเนื่อง และความสม่ำเสมออย่างมาก ความจำเป็นปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกจากอาจารย์ที่ปรึกษาก็น้อยมาก จึงแทบเป็นช่วงสันโดษ (solitude) ก็ว่าได้

ดังนั้นความเบื่องานเป็นช่วงนั้น เป็นเรื่องธรรมดา แต่การที่จะหาแรงจูงใจเพื่อให้กลับมาทำได้นั้น การม้องย้อนกลับไปหาเหตุผลที่ตั้งใจมาเรียน (Why ในบทความตอน 5 Questions) เป็นความสามารถส่วนบุคคลของนักศึกษาแต่ละคน การพูดคุยกับรุ่นที่ หรือรุ่นเดียวกันก็มีส่วนช่วยมาก (peer support) ทำให้ได้เห็นว่า นี่เป็นเพียงส่วนของการเดินทาง คนที่อึดจริง และอยู่กับตัวเองได้จึงจะผ่านไปได้

ความเหงานั้นก็เป็นศัตรูอีกอย่างหนึ่งโดยเฉพาะอยู่ในเมืองที่ค่อนข้างเงียบอย่างแคนเบอร่า โดยเฉพาะการอยู่หอมหาวิทยาลัยนั้น ช่วงหยุดปิดเทอมนี่แทบไม่เห็นคนเลย ถ้าอยู่หอเด็กปริญญาตรีก็ยังดีครื้นเครงมีกิจกรรม แต่ข้อเสียอาจเป็นเสียงดังไปหน่อย ห้องน้ำรวม และครัวรวมก็อาจจะไม่ค่อยสะดวกสำหรับนักศึกษาที่โตแล้ว ดังน้นนักศึกษาปริญญาโทและเอก จึงมีหอพักที่ค่อนข้างเป็นสัดส่วน ห้องใครห้องมัน ก็เลยอาจจะไม่ค่อยได้เจอใครเท่าไหร่ จริงๆ แล้วข้อดีในการอยู่เมืองที่เงียบก็คือว่าไม่ค่อยมีแสงสีสีเสียง และความวุ่ยวายของเมืองใหญ่ให้ไขว้เขว (distraction) แต่ปกติแล้วก็พยายามออกไปเมืองเมืองอื่นทุกครั้งที่มีโอกาสเช่น ซิดนีย์ (Sydney) เมลเบิร์น (Melbourne, Victoria) บริสเบน (Brisbane, Queensland) ออกไปดูผู้คนบ้าง ให้คุ้มกับมาอยู่ต่างบ้างต่างเมือง แตก็ยังสงสัยตัวเองอยู่ว่า ถ้าอยู่เมืองใหญ่ๆ อย่างนี้นี่จะใจแตก เขียนงานได้หรือเปล่า คิดไปคิดมาอยู่เมืองเล็กๆก็มีข้อดี อันที่จริงก็อยู่ที่การเลือกมองมากกว่า เราก็ปลอบตัวเองไป

การผลัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) และการไม่ย่อท้อ (perseverance)
การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นก็สามารถออกนอกลุ่นอกทางได้หลายแบบ เช่น การติดการเช็คอีเมลล์ อดไม่ได้ที่จะใช้เวลานานๆเขียนตอบอีเมลล์ที่ไม่เกี่ยวกับงาน ถึงแม้จะเข้าออฟฟิสตั้งแต่ 8 โมงครึ่งก็อาจใช้เวลาถึง 10 โมงกว่าจะได้เริ่มทำงานจริง ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข่าว อ่านกระทู้ความเห็นของคนจากเว็บ pantip เว็บผู้จัดการ ติดละครไทย youtube ติดการคุย msn หรือ skype ติดเล่น facebook อัพเดทบล็อก blog ล้วนแต่ดึงเวลาไปจากงานทั้งสิ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นเพื่อนและศัตรูของนักศึกษาได้ (friend or foe) ต้องหว่านล้อมตัวเองในการเริ่ม เขียนงาน จัดระบบการทำงาน เลี่ยงทำงานที่สำคัญ และเสียภาพรวมทางด้านความก้าวหน้าของงานได้ การแบ่งวันเป็นหลายส่วน เริ่มจากช่วงเช้า ช่วงบ่าย และมอบหมายงานเป็นส่วนให้ตัวเอง ยึดติดกับตารางงานที่ตั้งไว้ ต้องมีระบบกับตัวเองมาก (self-discipline) เนื่องจากการทำวิทยานิพนธ์นั้นทำเองจากต้นจนจบ (one-man show) จึงเป็นทั้งเจ้านาย และลูกน้องของตนเอง ดังนั้นการจัดแบ่งงานทำเป็นส่วนๆจึงมีความสำคัญมาก

ความหมกมุ่นและความเครียด (obsession and stress)
ทำงานได้ก็เครียด ทำงานไม่ได้ก็เครียด ตระหนก (anxiety or panic attack) เกิดอาการไม่อยากไปโรงเรียน (จริงๆแล้วคือไม่อยากไปออฟฟิส) บางทีความเครียดก็อาจจากการที่งานติดขัดวิเคราะห์งานไม่ออก หรือว่าเขียนงานไม่ออก (writer’s block) หายใจเข้าหายใจอกเป็นวิยานิพนธ์ ทู่ซี้นั่งไปก็เขียนไม่ออก นั่งคิด นอนคิด ตีลังการคิด บางทีก็ยังนึกพล็อตการเขียนไม่ออก อาจเป็นเพราะนักเรียนพอถึงปีที่ 3 ขึ้นไปแล้วก็รู้เข้านอกออกในกับงาน หมดความสนใจไปส่วนหนึ่ง กำลังใจในการเเขียนถ่ายทอดถึงผลงานก็อาจจะน้อยลง บางส่วนก็เกิดอาการเป็นอาการจะทำแต่ละบทให้เพอร์เฟคที่สุด (perfectionist) ซึ่งอาจทำให้งานไม่เดินเท่าไหร่ ความหมกหมุ่นและความเครียดนั้นบางทีก็เเป็นเหมือนวงจรที่ดิ้นไม่หลุด (vicious cycle)

สิ่งสำคัญดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับความคาดหวังของตัวนักศึกษา บางครั้งก็อดที่จะประมาณการ เกินไป overestimate และอาจตีตนไปก่อนไข้ว่าจะทำไม่ได้ กระบวนการทำวิจัยนั้นอาจทำให้รู้สึกว่า ยิ่งเรียนมากยิ่งดูเหนื่อนไม่ค่อยรู้ (เพราะยิ่งเรียนก็ยิ่งยาก) และเกิดอาการประมาณความรู้ความสามารถตนเองต่ำเกินไป (underestimate) ถ้าไม่อาจหลุดวงจรไปได้ก็อาจเกิดออาการหดหู่ (depression) หรือขาดความศรัทธาในตนเองได้ (lack of self esteem) ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายกว่าจะมาถึงตรงนี้ได้

ถึงจุดนี้บางคนก็ต้องเข้าหาธรรมะกัน เพื่อนอีกท่านเป็นคริสต์ก็เข้าโบสถ์ถี่ นับลูกคำ หาวิธีการสงบจิต สงบใจกันไปในแต่ละวิถี แต่ละคน เพราะ ดูเหมือว่าความรู้สึกของตัวองเป็นอุปสรรคในการทำงาน (you are your worst enemy) พ่อผู้เขียนมาเยี่ยมเอาหนังสือที่แคนเบอร่า เรื่อง “ถอดรหัสอารมณ์” ของหวงพ่อชา สุภัทโทมาให้ ปกหน้าเขียนว่า “หากคุณรู้จักอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์ได้ย่อมเกิดความสงบ อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง แต่คนชอบคิดไปตามอารมณ์ ทำไปตามอารมณ์มันจึงเป็นทุกข์” ปกหลังมีข้อความสำคัญว่า “หากเรารู้และตามเท่าทันอารมาณ์ของตัวเองด้วยสติได้ เราจะมีแต่ความสงบและความทุกข์ก็น้อยลง” อีกเล่มที่เพื่อนนักศึกษาไทยส่งให้กันอ่าน ของท่านพุทธทาสภิกขุ “ธรรมะเล่มเดียวจบ” ก็ใช้เป็นหนังสืออ้างอิงกัน นอกจากนั้นก็ฟังธรรมะจากอาจารย์พราหมณ์ จาก Buddhist Society of Western Australia[1]ซึ่งเป็นพระฝรั่งมาฝึกกับหลวงพ่อชาเป็นเวลานาน ท่านเป็นพระชาวอังกฤษ จบทางด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง วิธีการสอนแกจึงค่อนจข้างเป็นเหตุเป็นผลน่าสนใจ แถมเวลาฟังก็ได้ฝึกภาษาอังกฤษไปในตัว

ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ (relationship)
ไม่ว่าจะเป็นกับครอบครัว เพื่อน คู่ครองและลูก เนื่องจากไม่มีเวลา หรือเป็นความกดดันเรื่องการเขียนก็ตามและลงกับคนรอบข้าง สำหรับคนที่มีครอบครัวนั้น ก็มีภาระที่มากกว่า เห็นเพื่อนบางคนที่เป็นนักเรียนเต็มเวลาตอนกลางวัน (full-time student) ตกเย็นและวันหยุดก็ทำหน้าที่เป็นภรรยา (full-time wife) และแม่ของลูก (full-time mother) แถมบางคนก็ทำงาน (full-time job) ไปด้วย เห็นแล้วก็ชื่นชมการจัดเวลามาก ขนาดเราเป็นนักเรียนอย่างเดียวก็ยังรู้สึกเหมือนจะเอาตัวไม่รอด บางคนก็ไม่เคยห่างจากบ้าน ห่างจากครอบครัวเป็นเวลาหลายปีก็อาจเกิดอาการ คิดถึงบ้าน (homesick) เพื่อผู้เขียนหลายท่านที่ต้องอยู่ห่างจากคู่รักก็ต้องหาทางรักษาความสัมพันธ์ทางไกล (long-distance relationship)

การหากิจกรรมอื่นทำ (extra curriculum activities)
Healthy body, healthy mind ร่างกายสำคัญมากจริงๆ ใช้ไปเท่าไหร่ก็สึกหรอถ้าไม่ดูแล เนื่องจากการนั่งโต๊ะทำงานวิจัย (sedentary lifestyle) นั้น มีแต่สมองกับนิ้วมือที่ได้ใช้งาน จริงๆแล้วเรียนทางด้านสุขภาพนี้ที่คณะก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของผลจากการทำงานต่อสุขภาพ (occupational hazard) ว่าจะเป็นการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดข้อมือ โดยเฉพาะที่ต้องกันเป็นเวลากว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นภัยของสังคมยุคคอมพิวเตอร์จริงๆ

การหากิจกรรมเพื่อหาความสมดุลให้ร่างกาย (physical balance) ที่ชอบและสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจชอบกิจกรรมข้งนอก (outdoor activities) เช่นการเดิน การวิ่ง บางคนอาจจะถนัดกับการเป็นสมาชิกฟิตเนสคลับ (fitness) ข้อดีของชีวิตในมหาวิทยาลัยนั้น ค่อนข้างอิสระ และเรียบง่าย มีสถานที่อำนวยความสำดวกให้หทำกิจกรรม (sport and recreational centre) สำหรับตัวผู้เขียนเองก็ได้ทดลองทำกิจกรรมหลายอย่างที่เคยอยากจะทำมาตลอดแต่ไม่มีโอกาส คอร์สเรียนที่มหาวิทยาลัยก็ราคาสมเหตุสมผล ได้เรียนเทนนิสอย่างจริงจัง และได้เล่นเทนนิสเป็นประจำ (สนามเทนนิสอยู่หน้าหอพัก) ได้เทดลองรียนแบบเต้นรำต่างๆ (ballroom, salsa, bollywood, belly dancing) พึ่งจะได้รู้ว่าตัวเองก็ชอบทางนี้ ชมรมสโมสรต่างๆ(club)ที่เป็นศิลปะการต่อสู้ก็น่าสนใจเช่น คาราเต้ เคนโด้ อาคีโด (karate, kendo, aikido) บางคนก็ชอบกิจกรรมเน้นไปทางการผ่อนคลายเช่น โยคะ การยืดหยุ่นร่างกาย หรือแม่แต่การ (yoga, pilate) แต่ละคนก็ นานาจิตตังมีความสนใจที่ไม่เหมือนกัน แต่การชอบกิจกรรมเหล่านี้ก็อาจเป็นการเปิดสังคมให้ได้รู้จักสังคมอื่นที่มีความสนใจเดียวกันได้

ตัวผู้เขียนเองก็ทำกิจกรรมมากพอสมควร รู้สึกว่าแรงเยอะ นั่งเขียนงานอย่างเดียวคงไม่ไหว เราก็ยึดคติ (work hard, play harder) เพื่อนที่เรียนด้วยกัน เรียกเราว่าบ้าพลัง (hyperactive) จากกลับมาจากเมืองไทย หายเครียดเข้ารูปเข้ารอยนั้น ก็ทำงานทั้งวัน แต่ตอนเย็นก็ทำกิจกรรมสม่ำเสมอ เล่นเทนนิส 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เต้นรำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รักษาตารางนี้เป็นปี ต้องยอมรับว่าช่วยให้หายเหงา ช่วยผ่อนคลายความเครียด และรู้สึกได้ว่าแข็งแรง สดชื่นและทำงานได้นานขึ้น


[1] http://www.bswa.org/

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 6 (Letter to Dad No.6)

Year 3 Part I: Back on track (February – October 2007)

จากความเดิมที่กลับเมืองไทย ตอนนั้นเดือนธันวาคม และมกราคม กลับไปตอนนั้นกึ่งพักผ่อนแต่ก็ ขอพบผู้ใหญ่บางท่านเกี่ยวกับเรื่องงานด้วย จริงๆแล้ว 2 เดือนนั้นช่วยได้มาก พอเจอเเพื่อนๆกลุ่มสมัยมัธยมปลาย และมหาวิทยาลัย ก็ได้เห็นความจริงว่าเนื่องจากแต่ละคนพึ่งทำงานมาไม่กี่ปี ตำแหน่งก็ยังไม่อาวุโส (junior) งานก็อาจจะมากหน่อย และบางคนก็โดนแรงกดดันจากหัวหน้า ผู้บังคับบัญชา แถมบางคนต้องทำงานไป เรียนโทไป เพื่อนๆคุยกันเราก็คิดในใจว่า จริงๆเรียนนี่ก็สบาย เป็นนายตัวเอก ตอนสมัยทำงานเราเองก็เครียดเช่นกัน ตีโพยตีพายทำไม ไม่ว่าจะทำอะไรก็มีอุปสรรคทั้งนั้น เพียงแต่ว่าจะต้องไม่ท้อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ ยังดีที่คิดได้ตอนนี้ยังงัยก็ยังเหลืออีกปี ก็ตัดสินใจ ฮึดกลับไปลุยดีกว่ากลับมาถึงแคนเบอร่าวันเกิด ตัวเอง 23 มกราคม ครบ 26 ขวบดันตกเครื่องภายในประเทศก็เลยได้ฉลองด้วยการนอน (บนพื้น) กับคนแปลกหน้าอีกกลุ่มหนึ่ง ที่สนามบิน Sydney airport ช่างเป็นการกลับมาที่ท้าทายจริงๆ

กลับมาที่งานเขียนบทต่อบท (chapter by chapter) - ตอนเริ่มปีที่ 3 นั้นเป็นช่วงเวลา 9 เดือนที่วิเคราะห์และเขียนผล แล้วก็ส่งใหอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะว่าการเรียนปริญญาเอกนั้นป็นอิสระมาก จะทำงานช้าเร็วแค่ไหนก็ได้ ดังนั้นการตั้งระบบเพื่อสำรวจความก้าวหน้าของตนจึงมีความสำคัญมาก (milestone) ถึงแม้ว่าจะมีเวลาเขียนประมาณ 1 ปีนั้น ถ้าคิดกันจริงๆแล้วประมาณ 8-10 บท บวกเวลาการแก้ไข ตกแต่ง จริงๆแล้ว ก็กระชั้นมาก ดังนั้นนักเรียนส่วนมากใช้เวลาโดยเฉลี่ย 3 ปีครึ่ง หรืออาจถึง 4 ปี

การจัดระบบวางแผนการใช้เวลาการเขียนช่วงปีที่ 3 นั้น สำหรับตัวผู้เขียนตั้งเป้าหมายไว้ที่เฉลี่ยเขียนเดือนละ 1 บทแล้วส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษา ตารางการเขียนนั้นก็ขึ้นอยู่กับสไตล์ของนักศึกษาแต่ละคนถนัด แบะการตกลงในการส่งงานให้อาจารย์ บางคนเริ่มจากรายงานข้อมูลและวิธีการวิจัย (dataset and methodology) ตามด้วยรายงานข้อมูลพื้นฐาน (descriptive data) บางคนก็รอจนวิเคราะห์เสร็จแล้วจึงค่อยเขียนผล บางคนก็วิเคราะห์ไปเขียนไป เอาเป็นว่าวิธีไหนใครถนัดใช้ ให้งานเขียนออกมาได้ อย่างต่อเนื่องเป็นดี

นอกเหนือจากวิทยานิพนธ์ (beyond the thesis) ขอขยายความ เรื่องวิธีการเผยแพร่งานของนักศึกษาปริญญาเอก เนื่องจากตัววิทยานิพนธ์เป็นหนังสือเล่มยักษ์ และจริงๆแล้วอาจจะมีคนนี่ได้อ่านหน้าต่อหน้อยู่ไม่กี่คน เช่นตัวคนเขียนซึ่งอ่านกันแล้วอ่านกันอีก อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ตรวจ (examiner) ดังนั้นการที่เผยแพร่ผลที่พบจากงานวิจัยนั้นก็มีความสำคัญมาก เช่นเดียวกับการลงทุนทั้งเงิน และเวลาในการทำวิจัย การเสนองานวิจัยในระหว่างเรียนอยู่นั้น ข้อดีก็คือ จะได้คำวิพากษ์ที่ป็นประโยชน์ในการปรับปรุงงานวิทยานิพนธ์ (constructive comments) ข้อเสียอาจเป็นการต้องแบ่งเวลาไปจากวิทยานิพนธ์

- การเสนองานในการสัมนา (seminar/presentation) ในแต่ละปี นักศึกษาปริญญาเอกจะต้องมาเสนอก้าวหน้าของงาน ต่อคณะ เป็นลักษณะของการแบ่งปันความรู้กันในคณะด้วย (knowledge sharing) เนื่องจากนักวิจัยแต่ละท่านก็ ทำเรื่องที่แตกต่างกัน และเป็นการเปิดโอกาสให้นักสึกษาปริญญาเอกซึ่งก็คล้ายกับ นักวิจัยฝึกงานลองสนาม ที่กำลังจะเป็นนักวิจัยเต็มตัวในอนาคต โดยทั้วไปการเสนอผลงานปีแรกเกี่ยวกับเสนอแผนวิจัย (proposal) สิ้นปีที่ 2 หลังกลับมาจากภาคสนาม (post-field seminar) และในปีที่ 3 ก่อนนักศึกษาจะจบ (final seminar) การให้สัมมนานอกคณะ หรือแม้แต่นอกมหาวิทยาลัยนั้น ยังเสริมทักษะลองสนามการนำเสนองาน การตอบคำถามในรูปวิชาการสาธารณะ (academic presentation skill) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว

- การตีพิมพ์ผลงาน (publication) นักวิจัยกับการตีพิมพ์ผลงานนั้นเปรียบเสมือนเป็นของคู่กันไม่ว่าจะเป็นตามวารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ (journal) จดหมายเหตุ (letter) หรือเขียนบทในหนังสือ (book chapter) การตีพิมพ์ระหว่างเรียนนั้นก็ถือเป็นเรื่องดีหลายประการ เช่นเป็นการเร่งให้ได้รวบรวมและถ่ายทอดผลเป็นงานรูปธรรม (manuscript) โดยไม่ต้องให้เรียนจบเสียก่อน พร้อมที่จะให้คนนอกที่อยู่ในสายเดียวอ่านและวิพากษ์ (peer review) รายงานผลจากผู้ตรวจ (reviewer’s report) นั้นก็สะทอ้นคุณภาพของงาน และเป็นอาจเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขวิทยานิพนธ์ การมีผลงานตีพิมพ์อาจมีส่วนช่วยในเพิ่มความมั่นใจว่างานได้รับการเผยแพร่ในสาธารณะแล้ว เมื่อวิทยานิพนธ้เข้ารับการตรวจ (bullet proof) ข้อเสียส่วนหนึ่งของการตีพิมพ์อาจเป็นเรื่องเวลา เนื่องจากเขียนผลงานต่างจากการเขียนวิทยานิพนธ์มาก การเตรียมตัวอาจใช้เวลาเป็นเดือน อีกทั้งกระบวนการตีพิมพ์อาจใช้เวลาเป็นหลายเดือนอาจจะได้ผล และการแก้งาน กว่าจะได้ลงตีพิมพ์จริงอาจใช้เวลาเป็นปีได้

- การเสนอผลงานในงานประชุมทางวิชาการ (conference) ไม่ว่าจะเป็นในหรือต่างประเทศ การนำขอไปนำเสนองานนั้น โดยมากเริ่มจากการส่งบทคัดย่อประมาณ 250-300 คำ (abstract) ไปยังการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการงาน การเปิดรับบทคำย่ออาจเป็นเวลาถึง 4-8 เดือนล่วงหน้าของการประชุม เมื่อได้รับการตอบรับให้ไปเสนองานอาจอยู่ใหรูปของการ นำเสนอในรูปการพูด 10-20 นาที (oral presentation) หรือในรูปของโพสเตอร์ (poster presentation) การไปงานประชุมเหล่านี้เป็นโอกาสดีที่จะได้พบตัวจริงผู้ที่เราติดตามงานเขียน และแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้ที่ทำงานสายเดียวกัน (networking)

- นักศึกษาบางท่านอาจเป็นผู้ช่วยวิจัยกับอาจารย์ (research assistant) หรือผู้ช่วยสอนในวิชาที่ตนเองถนัด (teaching assistant/tutoring) ให้กับนักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งก็เป็นวิธีการเสริมทักษะ ได้ความรู้เพิ่ม และอาจเป็นการหารายได้พิเศษในขณะเดียวกัน