4/05/2008

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 6 (Letter to Dad No.6)

Year 3 Part I: Back on track (February – October 2007)

จากความเดิมที่กลับเมืองไทย ตอนนั้นเดือนธันวาคม และมกราคม กลับไปตอนนั้นกึ่งพักผ่อนแต่ก็ ขอพบผู้ใหญ่บางท่านเกี่ยวกับเรื่องงานด้วย จริงๆแล้ว 2 เดือนนั้นช่วยได้มาก พอเจอเเพื่อนๆกลุ่มสมัยมัธยมปลาย และมหาวิทยาลัย ก็ได้เห็นความจริงว่าเนื่องจากแต่ละคนพึ่งทำงานมาไม่กี่ปี ตำแหน่งก็ยังไม่อาวุโส (junior) งานก็อาจจะมากหน่อย และบางคนก็โดนแรงกดดันจากหัวหน้า ผู้บังคับบัญชา แถมบางคนต้องทำงานไป เรียนโทไป เพื่อนๆคุยกันเราก็คิดในใจว่า จริงๆเรียนนี่ก็สบาย เป็นนายตัวเอก ตอนสมัยทำงานเราเองก็เครียดเช่นกัน ตีโพยตีพายทำไม ไม่ว่าจะทำอะไรก็มีอุปสรรคทั้งนั้น เพียงแต่ว่าจะต้องไม่ท้อกับสิ่งที่กำลังทำอยู่ ยังดีที่คิดได้ตอนนี้ยังงัยก็ยังเหลืออีกปี ก็ตัดสินใจ ฮึดกลับไปลุยดีกว่ากลับมาถึงแคนเบอร่าวันเกิด ตัวเอง 23 มกราคม ครบ 26 ขวบดันตกเครื่องภายในประเทศก็เลยได้ฉลองด้วยการนอน (บนพื้น) กับคนแปลกหน้าอีกกลุ่มหนึ่ง ที่สนามบิน Sydney airport ช่างเป็นการกลับมาที่ท้าทายจริงๆ

กลับมาที่งานเขียนบทต่อบท (chapter by chapter) - ตอนเริ่มปีที่ 3 นั้นเป็นช่วงเวลา 9 เดือนที่วิเคราะห์และเขียนผล แล้วก็ส่งใหอาจารย์ที่ปรึกษา เพราะว่าการเรียนปริญญาเอกนั้นป็นอิสระมาก จะทำงานช้าเร็วแค่ไหนก็ได้ ดังนั้นการตั้งระบบเพื่อสำรวจความก้าวหน้าของตนจึงมีความสำคัญมาก (milestone) ถึงแม้ว่าจะมีเวลาเขียนประมาณ 1 ปีนั้น ถ้าคิดกันจริงๆแล้วประมาณ 8-10 บท บวกเวลาการแก้ไข ตกแต่ง จริงๆแล้ว ก็กระชั้นมาก ดังนั้นนักเรียนส่วนมากใช้เวลาโดยเฉลี่ย 3 ปีครึ่ง หรืออาจถึง 4 ปี

การจัดระบบวางแผนการใช้เวลาการเขียนช่วงปีที่ 3 นั้น สำหรับตัวผู้เขียนตั้งเป้าหมายไว้ที่เฉลี่ยเขียนเดือนละ 1 บทแล้วส่งให้อาจารย์ที่ปรึกษา ตารางการเขียนนั้นก็ขึ้นอยู่กับสไตล์ของนักศึกษาแต่ละคนถนัด แบะการตกลงในการส่งงานให้อาจารย์ บางคนเริ่มจากรายงานข้อมูลและวิธีการวิจัย (dataset and methodology) ตามด้วยรายงานข้อมูลพื้นฐาน (descriptive data) บางคนก็รอจนวิเคราะห์เสร็จแล้วจึงค่อยเขียนผล บางคนก็วิเคราะห์ไปเขียนไป เอาเป็นว่าวิธีไหนใครถนัดใช้ ให้งานเขียนออกมาได้ อย่างต่อเนื่องเป็นดี

นอกเหนือจากวิทยานิพนธ์ (beyond the thesis) ขอขยายความ เรื่องวิธีการเผยแพร่งานของนักศึกษาปริญญาเอก เนื่องจากตัววิทยานิพนธ์เป็นหนังสือเล่มยักษ์ และจริงๆแล้วอาจจะมีคนนี่ได้อ่านหน้าต่อหน้อยู่ไม่กี่คน เช่นตัวคนเขียนซึ่งอ่านกันแล้วอ่านกันอีก อาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ตรวจ (examiner) ดังนั้นการที่เผยแพร่ผลที่พบจากงานวิจัยนั้นก็มีความสำคัญมาก เช่นเดียวกับการลงทุนทั้งเงิน และเวลาในการทำวิจัย การเสนองานวิจัยในระหว่างเรียนอยู่นั้น ข้อดีก็คือ จะได้คำวิพากษ์ที่ป็นประโยชน์ในการปรับปรุงงานวิทยานิพนธ์ (constructive comments) ข้อเสียอาจเป็นการต้องแบ่งเวลาไปจากวิทยานิพนธ์

- การเสนองานในการสัมนา (seminar/presentation) ในแต่ละปี นักศึกษาปริญญาเอกจะต้องมาเสนอก้าวหน้าของงาน ต่อคณะ เป็นลักษณะของการแบ่งปันความรู้กันในคณะด้วย (knowledge sharing) เนื่องจากนักวิจัยแต่ละท่านก็ ทำเรื่องที่แตกต่างกัน และเป็นการเปิดโอกาสให้นักสึกษาปริญญาเอกซึ่งก็คล้ายกับ นักวิจัยฝึกงานลองสนาม ที่กำลังจะเป็นนักวิจัยเต็มตัวในอนาคต โดยทั้วไปการเสนอผลงานปีแรกเกี่ยวกับเสนอแผนวิจัย (proposal) สิ้นปีที่ 2 หลังกลับมาจากภาคสนาม (post-field seminar) และในปีที่ 3 ก่อนนักศึกษาจะจบ (final seminar) การให้สัมมนานอกคณะ หรือแม้แต่นอกมหาวิทยาลัยนั้น ยังเสริมทักษะลองสนามการนำเสนองาน การตอบคำถามในรูปวิชาการสาธารณะ (academic presentation skill) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในระยะยาว

- การตีพิมพ์ผลงาน (publication) นักวิจัยกับการตีพิมพ์ผลงานนั้นเปรียบเสมือนเป็นของคู่กันไม่ว่าจะเป็นตามวารสารวิชาการทั้งในและต่างประเทศ (journal) จดหมายเหตุ (letter) หรือเขียนบทในหนังสือ (book chapter) การตีพิมพ์ระหว่างเรียนนั้นก็ถือเป็นเรื่องดีหลายประการ เช่นเป็นการเร่งให้ได้รวบรวมและถ่ายทอดผลเป็นงานรูปธรรม (manuscript) โดยไม่ต้องให้เรียนจบเสียก่อน พร้อมที่จะให้คนนอกที่อยู่ในสายเดียวอ่านและวิพากษ์ (peer review) รายงานผลจากผู้ตรวจ (reviewer’s report) นั้นก็สะทอ้นคุณภาพของงาน และเป็นอาจเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไขวิทยานิพนธ์ การมีผลงานตีพิมพ์อาจมีส่วนช่วยในเพิ่มความมั่นใจว่างานได้รับการเผยแพร่ในสาธารณะแล้ว เมื่อวิทยานิพนธ้เข้ารับการตรวจ (bullet proof) ข้อเสียส่วนหนึ่งของการตีพิมพ์อาจเป็นเรื่องเวลา เนื่องจากเขียนผลงานต่างจากการเขียนวิทยานิพนธ์มาก การเตรียมตัวอาจใช้เวลาเป็นเดือน อีกทั้งกระบวนการตีพิมพ์อาจใช้เวลาเป็นหลายเดือนอาจจะได้ผล และการแก้งาน กว่าจะได้ลงตีพิมพ์จริงอาจใช้เวลาเป็นปีได้

- การเสนอผลงานในงานประชุมทางวิชาการ (conference) ไม่ว่าจะเป็นในหรือต่างประเทศ การนำขอไปนำเสนองานนั้น โดยมากเริ่มจากการส่งบทคัดย่อประมาณ 250-300 คำ (abstract) ไปยังการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการงาน การเปิดรับบทคำย่ออาจเป็นเวลาถึง 4-8 เดือนล่วงหน้าของการประชุม เมื่อได้รับการตอบรับให้ไปเสนองานอาจอยู่ใหรูปของการ นำเสนอในรูปการพูด 10-20 นาที (oral presentation) หรือในรูปของโพสเตอร์ (poster presentation) การไปงานประชุมเหล่านี้เป็นโอกาสดีที่จะได้พบตัวจริงผู้ที่เราติดตามงานเขียน และแลกเปลี่ยนทัศนะกับผู้ที่ทำงานสายเดียวกัน (networking)

- นักศึกษาบางท่านอาจเป็นผู้ช่วยวิจัยกับอาจารย์ (research assistant) หรือผู้ช่วยสอนในวิชาที่ตนเองถนัด (teaching assistant/tutoring) ให้กับนักศึกษาปริญญาตรี ซึ่งก็เป็นวิธีการเสริมทักษะ ได้ความรู้เพิ่ม และอาจเป็นการหารายได้พิเศษในขณะเดียวกัน

0 Comments:

Post a Comment

<< Home