4/05/2008

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 7 (Letter to Dad No.7)

Year 3 Part II: ความสมดุลในชีวิตนักเรียนปริญญาเอก (Balance in the life of PhD student)

เนื่องจากการเรียนปริญญาเอกนั้นเป็นช่วงเวลาหลายปี และเป็นช่วงเวลาที่เป็นผู้ใหญ่จึงมีปัญหาบางประการที่ซับซ้อนกว่าการเรียนสมัยมหาวิทยาลัยหรือระดับปริญญาโท ชีวิตการเดินทางไม่ได้หยุดด้วยในระหว่างเรียนดังนั้น ปํญหาส่วนตัว และการงานอาจมีผลกระทบต่อการเขียนวิทยานิพนธ์ไม่มากก็น้อย

ความเบื่อและความเหงา (loneliness and boredom)
การเรียนปริญญาเอกนั้น ถือได้ว่าเป็นช่วงที่ค่อนข้างโดดเดี่ยว เนื่องจากส่วนมากเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นการโชว์เดี่ยว (one-man show) เป็นคนคิดเอง ทำเอง ในที่สุดก็ชำนาญเรื่องที่ทำอยู่คนเดียว โดษเฉพาะตอนเขียนต้องใช้สมาธิ ความต่อเนื่อง และความสม่ำเสมออย่างมาก ความจำเป็นปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นนอกจากอาจารย์ที่ปรึกษาก็น้อยมาก จึงแทบเป็นช่วงสันโดษ (solitude) ก็ว่าได้

ดังนั้นความเบื่องานเป็นช่วงนั้น เป็นเรื่องธรรมดา แต่การที่จะหาแรงจูงใจเพื่อให้กลับมาทำได้นั้น การม้องย้อนกลับไปหาเหตุผลที่ตั้งใจมาเรียน (Why ในบทความตอน 5 Questions) เป็นความสามารถส่วนบุคคลของนักศึกษาแต่ละคน การพูดคุยกับรุ่นที่ หรือรุ่นเดียวกันก็มีส่วนช่วยมาก (peer support) ทำให้ได้เห็นว่า นี่เป็นเพียงส่วนของการเดินทาง คนที่อึดจริง และอยู่กับตัวเองได้จึงจะผ่านไปได้

ความเหงานั้นก็เป็นศัตรูอีกอย่างหนึ่งโดยเฉพาะอยู่ในเมืองที่ค่อนข้างเงียบอย่างแคนเบอร่า โดยเฉพาะการอยู่หอมหาวิทยาลัยนั้น ช่วงหยุดปิดเทอมนี่แทบไม่เห็นคนเลย ถ้าอยู่หอเด็กปริญญาตรีก็ยังดีครื้นเครงมีกิจกรรม แต่ข้อเสียอาจเป็นเสียงดังไปหน่อย ห้องน้ำรวม และครัวรวมก็อาจจะไม่ค่อยสะดวกสำหรับนักศึกษาที่โตแล้ว ดังน้นนักศึกษาปริญญาโทและเอก จึงมีหอพักที่ค่อนข้างเป็นสัดส่วน ห้องใครห้องมัน ก็เลยอาจจะไม่ค่อยได้เจอใครเท่าไหร่ จริงๆ แล้วข้อดีในการอยู่เมืองที่เงียบก็คือว่าไม่ค่อยมีแสงสีสีเสียง และความวุ่ยวายของเมืองใหญ่ให้ไขว้เขว (distraction) แต่ปกติแล้วก็พยายามออกไปเมืองเมืองอื่นทุกครั้งที่มีโอกาสเช่น ซิดนีย์ (Sydney) เมลเบิร์น (Melbourne, Victoria) บริสเบน (Brisbane, Queensland) ออกไปดูผู้คนบ้าง ให้คุ้มกับมาอยู่ต่างบ้างต่างเมือง แตก็ยังสงสัยตัวเองอยู่ว่า ถ้าอยู่เมืองใหญ่ๆ อย่างนี้นี่จะใจแตก เขียนงานได้หรือเปล่า คิดไปคิดมาอยู่เมืองเล็กๆก็มีข้อดี อันที่จริงก็อยู่ที่การเลือกมองมากกว่า เราก็ปลอบตัวเองไป

การผลัดวันประกันพรุ่ง (procrastination) และการไม่ย่อท้อ (perseverance)
การทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้นก็สามารถออกนอกลุ่นอกทางได้หลายแบบ เช่น การติดการเช็คอีเมลล์ อดไม่ได้ที่จะใช้เวลานานๆเขียนตอบอีเมลล์ที่ไม่เกี่ยวกับงาน ถึงแม้จะเข้าออฟฟิสตั้งแต่ 8 โมงครึ่งก็อาจใช้เวลาถึง 10 โมงกว่าจะได้เริ่มทำงานจริง ไม่ว่าจะเป็นการอ่านข่าว อ่านกระทู้ความเห็นของคนจากเว็บ pantip เว็บผู้จัดการ ติดละครไทย youtube ติดการคุย msn หรือ skype ติดเล่น facebook อัพเดทบล็อก blog ล้วนแต่ดึงเวลาไปจากงานทั้งสิ้น เทคโนโลยีเหล่านี้ก็เป็นเพื่อนและศัตรูของนักศึกษาได้ (friend or foe) ต้องหว่านล้อมตัวเองในการเริ่ม เขียนงาน จัดระบบการทำงาน เลี่ยงทำงานที่สำคัญ และเสียภาพรวมทางด้านความก้าวหน้าของงานได้ การแบ่งวันเป็นหลายส่วน เริ่มจากช่วงเช้า ช่วงบ่าย และมอบหมายงานเป็นส่วนให้ตัวเอง ยึดติดกับตารางงานที่ตั้งไว้ ต้องมีระบบกับตัวเองมาก (self-discipline) เนื่องจากการทำวิทยานิพนธ์นั้นทำเองจากต้นจนจบ (one-man show) จึงเป็นทั้งเจ้านาย และลูกน้องของตนเอง ดังนั้นการจัดแบ่งงานทำเป็นส่วนๆจึงมีความสำคัญมาก

ความหมกมุ่นและความเครียด (obsession and stress)
ทำงานได้ก็เครียด ทำงานไม่ได้ก็เครียด ตระหนก (anxiety or panic attack) เกิดอาการไม่อยากไปโรงเรียน (จริงๆแล้วคือไม่อยากไปออฟฟิส) บางทีความเครียดก็อาจจากการที่งานติดขัดวิเคราะห์งานไม่ออก หรือว่าเขียนงานไม่ออก (writer’s block) หายใจเข้าหายใจอกเป็นวิยานิพนธ์ ทู่ซี้นั่งไปก็เขียนไม่ออก นั่งคิด นอนคิด ตีลังการคิด บางทีก็ยังนึกพล็อตการเขียนไม่ออก อาจเป็นเพราะนักเรียนพอถึงปีที่ 3 ขึ้นไปแล้วก็รู้เข้านอกออกในกับงาน หมดความสนใจไปส่วนหนึ่ง กำลังใจในการเเขียนถ่ายทอดถึงผลงานก็อาจจะน้อยลง บางส่วนก็เกิดอาการเป็นอาการจะทำแต่ละบทให้เพอร์เฟคที่สุด (perfectionist) ซึ่งอาจทำให้งานไม่เดินเท่าไหร่ ความหมกหมุ่นและความเครียดนั้นบางทีก็เเป็นเหมือนวงจรที่ดิ้นไม่หลุด (vicious cycle)

สิ่งสำคัญดูเหมือนจะขึ้นอยู่กับความคาดหวังของตัวนักศึกษา บางครั้งก็อดที่จะประมาณการ เกินไป overestimate และอาจตีตนไปก่อนไข้ว่าจะทำไม่ได้ กระบวนการทำวิจัยนั้นอาจทำให้รู้สึกว่า ยิ่งเรียนมากยิ่งดูเหนื่อนไม่ค่อยรู้ (เพราะยิ่งเรียนก็ยิ่งยาก) และเกิดอาการประมาณความรู้ความสามารถตนเองต่ำเกินไป (underestimate) ถ้าไม่อาจหลุดวงจรไปได้ก็อาจเกิดออาการหดหู่ (depression) หรือขาดความศรัทธาในตนเองได้ (lack of self esteem) ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายกว่าจะมาถึงตรงนี้ได้

ถึงจุดนี้บางคนก็ต้องเข้าหาธรรมะกัน เพื่อนอีกท่านเป็นคริสต์ก็เข้าโบสถ์ถี่ นับลูกคำ หาวิธีการสงบจิต สงบใจกันไปในแต่ละวิถี แต่ละคน เพราะ ดูเหมือว่าความรู้สึกของตัวองเป็นอุปสรรคในการทำงาน (you are your worst enemy) พ่อผู้เขียนมาเยี่ยมเอาหนังสือที่แคนเบอร่า เรื่อง “ถอดรหัสอารมณ์” ของหวงพ่อชา สุภัทโทมาให้ ปกหน้าเขียนว่า “หากคุณรู้จักอารมณ์ รู้เท่าทันอารมณ์ได้ย่อมเกิดความสงบ อารมณ์เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง แต่คนชอบคิดไปตามอารมณ์ ทำไปตามอารมณ์มันจึงเป็นทุกข์” ปกหลังมีข้อความสำคัญว่า “หากเรารู้และตามเท่าทันอารมาณ์ของตัวเองด้วยสติได้ เราจะมีแต่ความสงบและความทุกข์ก็น้อยลง” อีกเล่มที่เพื่อนนักศึกษาไทยส่งให้กันอ่าน ของท่านพุทธทาสภิกขุ “ธรรมะเล่มเดียวจบ” ก็ใช้เป็นหนังสืออ้างอิงกัน นอกจากนั้นก็ฟังธรรมะจากอาจารย์พราหมณ์ จาก Buddhist Society of Western Australia[1]ซึ่งเป็นพระฝรั่งมาฝึกกับหลวงพ่อชาเป็นเวลานาน ท่านเป็นพระชาวอังกฤษ จบทางด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง วิธีการสอนแกจึงค่อนจข้างเป็นเหตุเป็นผลน่าสนใจ แถมเวลาฟังก็ได้ฝึกภาษาอังกฤษไปในตัว

ปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ (relationship)
ไม่ว่าจะเป็นกับครอบครัว เพื่อน คู่ครองและลูก เนื่องจากไม่มีเวลา หรือเป็นความกดดันเรื่องการเขียนก็ตามและลงกับคนรอบข้าง สำหรับคนที่มีครอบครัวนั้น ก็มีภาระที่มากกว่า เห็นเพื่อนบางคนที่เป็นนักเรียนเต็มเวลาตอนกลางวัน (full-time student) ตกเย็นและวันหยุดก็ทำหน้าที่เป็นภรรยา (full-time wife) และแม่ของลูก (full-time mother) แถมบางคนก็ทำงาน (full-time job) ไปด้วย เห็นแล้วก็ชื่นชมการจัดเวลามาก ขนาดเราเป็นนักเรียนอย่างเดียวก็ยังรู้สึกเหมือนจะเอาตัวไม่รอด บางคนก็ไม่เคยห่างจากบ้าน ห่างจากครอบครัวเป็นเวลาหลายปีก็อาจเกิดอาการ คิดถึงบ้าน (homesick) เพื่อผู้เขียนหลายท่านที่ต้องอยู่ห่างจากคู่รักก็ต้องหาทางรักษาความสัมพันธ์ทางไกล (long-distance relationship)

การหากิจกรรมอื่นทำ (extra curriculum activities)
Healthy body, healthy mind ร่างกายสำคัญมากจริงๆ ใช้ไปเท่าไหร่ก็สึกหรอถ้าไม่ดูแล เนื่องจากการนั่งโต๊ะทำงานวิจัย (sedentary lifestyle) นั้น มีแต่สมองกับนิ้วมือที่ได้ใช้งาน จริงๆแล้วเรียนทางด้านสุขภาพนี้ที่คณะก็ให้ความสำคัญกับเรื่องของผลจากการทำงานต่อสุขภาพ (occupational hazard) ว่าจะเป็นการปวดคอ ปวดไหล่ ปวดข้อมือ โดยเฉพาะที่ต้องกันเป็นเวลากว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เป็นภัยของสังคมยุคคอมพิวเตอร์จริงๆ

การหากิจกรรมเพื่อหาความสมดุลให้ร่างกาย (physical balance) ที่ชอบและสามารถปฏิบัติได้สม่ำเสมอนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจชอบกิจกรรมข้งนอก (outdoor activities) เช่นการเดิน การวิ่ง บางคนอาจจะถนัดกับการเป็นสมาชิกฟิตเนสคลับ (fitness) ข้อดีของชีวิตในมหาวิทยาลัยนั้น ค่อนข้างอิสระ และเรียบง่าย มีสถานที่อำนวยความสำดวกให้หทำกิจกรรม (sport and recreational centre) สำหรับตัวผู้เขียนเองก็ได้ทดลองทำกิจกรรมหลายอย่างที่เคยอยากจะทำมาตลอดแต่ไม่มีโอกาส คอร์สเรียนที่มหาวิทยาลัยก็ราคาสมเหตุสมผล ได้เรียนเทนนิสอย่างจริงจัง และได้เล่นเทนนิสเป็นประจำ (สนามเทนนิสอยู่หน้าหอพัก) ได้เทดลองรียนแบบเต้นรำต่างๆ (ballroom, salsa, bollywood, belly dancing) พึ่งจะได้รู้ว่าตัวเองก็ชอบทางนี้ ชมรมสโมสรต่างๆ(club)ที่เป็นศิลปะการต่อสู้ก็น่าสนใจเช่น คาราเต้ เคนโด้ อาคีโด (karate, kendo, aikido) บางคนก็ชอบกิจกรรมเน้นไปทางการผ่อนคลายเช่น โยคะ การยืดหยุ่นร่างกาย หรือแม่แต่การ (yoga, pilate) แต่ละคนก็ นานาจิตตังมีความสนใจที่ไม่เหมือนกัน แต่การชอบกิจกรรมเหล่านี้ก็อาจเป็นการเปิดสังคมให้ได้รู้จักสังคมอื่นที่มีความสนใจเดียวกันได้

ตัวผู้เขียนเองก็ทำกิจกรรมมากพอสมควร รู้สึกว่าแรงเยอะ นั่งเขียนงานอย่างเดียวคงไม่ไหว เราก็ยึดคติ (work hard, play harder) เพื่อนที่เรียนด้วยกัน เรียกเราว่าบ้าพลัง (hyperactive) จากกลับมาจากเมืองไทย หายเครียดเข้ารูปเข้ารอยนั้น ก็ทำงานทั้งวัน แต่ตอนเย็นก็ทำกิจกรรมสม่ำเสมอ เล่นเทนนิส 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เต้นรำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ รักษาตารางนี้เป็นปี ต้องยอมรับว่าช่วยให้หายเหงา ช่วยผ่อนคลายความเครียด และรู้สึกได้ว่าแข็งแรง สดชื่นและทำงานได้นานขึ้น


[1] http://www.bswa.org/

0 Comments:

Post a Comment

<< Home