จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 9 (Letter to Dad No.9)
Year 3 Part II: ใกล้เส้นชัย (March 2007 – August 2008)
จำได้ว่าได้จัดรูปรวมเล่มครั้งแรก (first draft) ตั้งแต่เดือนมีนาคม ซึ่งก็เป็นเวลา 3 ปีพอดี เป็นแบบวิทยาพนธ์ที่มีโครงสร้าง เริ่มจาก กิตติกรรมประกาศ (acknowledgments) รร่างส่วนนี้มานานแล้วเป็นความรู้สึกที่ดีที่ความหมาย โดยเฉพาะเป็นการนึกถึงผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือ หลังจากนั้นเป็น บทคัดย่อ (abstract) บทนำ (introduction) บทวรรณกรรม (literature review) บทข้อมูลและวิธีการ (data and methodology) บทวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (descriptive data analysis) บทผลการศึกษา (main findings) บทอภิปราย นโยบาย และบทสรุป (discussion, policy implications, and conclusions) โดยเฉลี่ยประมาณ 8-10 บท ประมาณ 70,000-100,000 คำ หรือ 250-500 หน้าแล้วแต่ขนาดตัวอักษรและการจัดเรียงรูปเล่ม
ตอนแรกก็หวังว่าจะใช้เวลา 3 เดือน หรือประมาณ 100 วัน หมดแรง หมดไฟ เริ่มนับ 100 วันตั้งแต่เดือนมีนาคม รอแล้ว รอเล่าเฝ้าแต่รอ ก็ยังไม่เห็นวี่แวว ก็เลยเลิกนับในที่สุดการเขียนหนังสือเล่มนี้ระหว่างรอ ก็ช่วยได้ทีขึ้นมีลงจริงๆ ต้องหาเชื้อเพลิงเพิ่ม ถ้าเป็นการวิ่งมาราธอนก็คือจะหมดแรงก่อนถึงเส้นชัย ระหว่าง First draft to final draft นั้นอาจใช้เวลาถึง 6 เดือน เนื่องจาก ต้องรอคำวิจารณ์ (comments) จากอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นการรอคอยที่ทรหดจริงๆ ตัวเองโชคดีที่ได้อาจารย์ที่ปรึกษา 3 แบบ ท่านที่เป็นประธาน (Chair of supervisory panel) แกก็ดูเฉพาะภาพรวม เพราะแกต้องเป็นคนเซ็นให้ผ่าน อาจารย์างด้านสถิติตรวจดูบทวิธีการและเนือหาเทคนิค (technical details) อาจารย์ที่เป็นนักประชากรศาสตร์ดูรายละเดียด โดยเฉพาะความต่อเนื่อง (internal coherent) ภานในย่อหน้า (intra-paragraph) แลบะระหว่างย่อหน้า (inter-paragraph) แกละเอียดมาก แต่คำวิจารณ์ของแกเป็นประโยชน์มาก แต่ในที่สุดแล้วนักศึกษาก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบงานของตนเองท้ายที่สุด
The formatting เนื่องจากวิทยานิพนธ์ เป็นเอกสารที่ใหญ่ จาก เล่มเกือบเสร็จสมบูรณ์ (semi-final) ถึง เล่มเสร็จสมบูรณ์ (final draft) นั้นก็ดูกันจนนาทีสุดท้าย ทุกหน้า ทุกตาราง รูป ย่อหน้า การเรียนรู้และใช้โปรแกรมทุ่นเวลาตั้งแต่แรก เริ่มเรียนและฝึกใช้ เห็นถึงประโยชน์ของการไปเรียนโปรแกรมจัดหน้าแบบอัตโนมัติ Heading, cross-reference สำหรับตาราง ของ Microsoft Word document และรายการหนังสืออ้างอิง (โปรแกรม EndNote) เป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะการทำสารบัญ ทุกอย่างเป็นอัตโนมัติ ประหยัดเวลาตอนท้ายไปได้เยอะมาก เพราะถ้าแก้อะไรหน่อย หน้าก็จะเลื่อน ข้อสำคัญมากอีกอย่างคือการตรวจเช็คกันดูอีกทีว่าไม่มีการลอกเลียนแบบประโยค (plagarism) ถึงแม้จะเป็นการเขียนใหม่ (paraphrase) และมีอ้างอิงแล้วก็ตาม เรื่องนี้เป็นปัญหาที่รักเรียนต่างชาติที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเป็นเรื่องที่ร้ายแรงทางวิชาการ
The final printing and binding การเย็บรูปเล่มเพื่อเตียมส่งให้ผู้ตรวจ ยังไม่เย็บเป็นเล่มถาวร แบบเป็นห่วง ต้องจัดทำตามกฎของมหาวิทยาลัย ของตัวผู้เขียนค่อนข้างหนา 407 หน้า ก็เลยพิมพ์หน้าหลัง เพื่อลดความหนาลง
เมื่อเตรียมทุกอย่างเรียบร้อยก็ติดต่อเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยพร้อมที่จะส่ง (thesis submission) เป็น ประเพณีที่เพื่อนๆต้องมาช่วยกันแห่ไปส่ง ตัวเองก็ไปส่งกับเพื่อนรุ่นพี่ประจำ ถือเป็นงานสำคัญ โชคดีที่ช่วงนั้นแม่มาเยี่ยมพอดี ก็เลยได้ไปด้วยกัน หลังจากนั้นก็จะมีการเลี้ยงฉลองกันทั้งเพื่อนในและนอกคณะ
เนื่องจากเราเสร็จรูปเล่มก่อนกำหนดหลายเดือนก็เลยมีเวลาแก้ไข้ค่อนข้างมาก เกิดอาการแปลกๆ ไม่อยากส่ง (letting go of the baby - ‘thesis’) ได้ยินมาว่าบางคนเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อาจเกิดอาการซึมเศร้า PhD blues เนื่องจากอยู่กับวิยานิพนธ์มาเป็นเวลาหลายปี ตื่นมาตอนกลางคืนก็ไม่มีอะไรให้นึกถึง วันสุดสัปดาห์ก็รู้สึกเปลี่ยวไม่มีอะไรให้กังวล
ส่วนขั้นต่อไปนั้น ผู้ตรวจ Examiners ที่มหาวิทยาลัยส่งไปตรวจนั้นประมาณ 2-3 ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ในกรณีผู้เขียนนั้น ผู้ตรวจเป็นนักสาธารณสุข (public health practitioners or researchers) นักระบาดวิทยา (epidemiologists) นักเศรษฐศาสตร์สุขภาพ (health economists) คงต้องผลรอประมาณ 2-4 เดือนเป็นต้นไป สถิติโดยทั่วไปผลที่ออกมาเป็นไปได้
- ผ่าน (pass as is) ประมาณ 10-15% ของวิทยานิพธ์ทั้งหมด
- ผ่านแก้เล็กน้อย (minor correction) เป็นกลุ่มใหญ่ 75%
- ผ่านแก้มาก (major correction) ไม่ผ่าน 10 %
- ไม่ผ่าน เทียบเท่าปริญญาโท (Master of Philosophy) 1-2%
ส่วนมากนักเรียนต่างชาติที่เสร็จแล้วก็จะกลับไปรอผล โดยเฉพาะคนที่มีพันธะกับที่ทำงานต้นสังกัด ส่วนตัวผู้เขียนนั้นจังหวะดีได้งานเป็น Postdoctoral Fellow ต่อกับคณะ ANU College of Medicine and Health Science อย่างน้อยจะได้สานงานเขียนและตีพิมพ์งานจากวิทยานิพนธ์ ในระหว่างรอให้ผลวิทยานิพนธ์กลับมาและจะได้จัดการให้เรียบร้อย