2/29/2008

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 3 (Letter to Dad No.3)

Year 1: in search for PhD Thesis topic (April – Nov 2005)

30 มีนาคม 2548 ถึงออสเตรเลียลงทะเบียนเป็นนักศึกษาปริญญาเอก จำได้ว่าแต่งตัวสบายๆ รู้สึกดีที่ได้กลับมาเป็นนักศึกษาอีกครั้ง มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียค่อนข้างกว้าง และสงบ เมืองแคนเบอร่าอยู่ประมาณ 300 กิโลเมตรทางตอนใต้ของซิดนีย์ (Sydney) ประมาณ 3.5 ชั่วโมงโดยรถทัวร์ (coach) ถ้าบินในประเทศก็ประมาณ 40 นาที มีคนบอกว่าเนื่องจาก Sydney และ Melbourne ต่า’ก็ไม่ ยอมให้อีกเมืองเป็นเมืองหลวง ก็เลยมาลงเอยที่ เมืองระหว่างทาง (ห่างจาก Melbourne ประมาณ 650 กิโลเมตร) เป็นเมืองหลวงที่ค่อนข้างเงียบ โดยมากก็ใช้ชีวตอยู่ในหอนักเรียนถึงแม้เล็กแต่ก็สะดวก สบาย ไปถึงคณะครั้งแรกก็ดูบรรยากาศดี (National Centre for Epidemiology and Population Health) มีออฟฟิสที่ใช้ร่วมกับนักเรียนปริญญาเอก แต่ก็เป็นสัดส่วน

เริ่มไปแนะนำตัวกับอาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย็ก็บอกว่าช่วงแรกให้ปรับตัวไปก่อน ให้อ่านกว้างเพื่อให้ได้ความคิดจากวรรณกรรมปัจจุบันในด้านสาธารณสุขเนื่องจากเป็นสายที่ไม่คุ้นเคย (literature review) ใช้เวลานานพอสมควร อ่านนู่น อ่านนี่ ดูนู่น ดูนี่ เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขมาก พูดคุยกับคนถึงเรื่องที่น่าจะใช้ทำหัวข้อวิจัยได้ อาจารย็ให้หนังสือเล่นแรกมาอ่านชื่อ How to get a PhD[1] ตอนนั้นคิดในใจว่า “โอ้ โฮ ช่างเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเองจริงๆ” ระหว่างหลายเดือนแรกต้องเข้า workshop แบบสั้นที่มหาวิทยาลัยจัดให้กับนักศึกษาแบบวิจัย ในการค้นคว้า database สำหรับวารสารวิชาการต่างประเทศ (งานตีพิมพ์ที่ทันสมัยส่วนใหญ่จะสามารถดาวน์โหลดได้จากฐานข้อมูลของมหาวิทยาลัย) การใช้โปรแกรม endnote ในการทำรายการหนังสืออ้างอิง และ workshop ทางด้าน Microsoft package และ โปรแกรมทางสถิติ หรือโปรแกรมอื่นๆ เพื่อสร้างทักษะเมื่อจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

งานวิจัยทางด้านสังคมศาสตร์ (social + science) แบ่งออกเป็นคร่าวๆได้ 2 แบบ เชิงปริมาณ (quantitative) และ เชิงคุณภาพ (qualitative) เทคนิคที่ใช้ก็ค่อนข้างแตกต่างกัน เชิงปริมาณ เน้นทางใช้ตัวเลขจากแบบสอบถามขนาดใหญ่ (survey) และวิธีการทางสถิติ (statistical analysis) ในการวิเคราะห์ เชิงคุณภาพอาจใช้วิธีทางการสัมภาษณ์ (in-depth interview) สังเกตการณ์ (participant observation) สัมภาษณ์กลุ่มย่อย (focus group discussion) ช่วงการเตียมหัวข้อวิจัยนี้สำคัญมากในการทำการบ้าน ไตร่ตรอง เสาะหา พูดคุยถึงความเป็นไปได้ (feasibility) ในการเรียนรู้วิธีที่จะใช้ได้อย่างทีประสิทธิภาพ ในเวลาจำกัด

คำถามหลักในการวิจัย (Research questions)
เป็นเรื่องแทงใจของนักศึกษาแบบวิจัย เพราะถ้าคำถามไม่ชัดเจน ก็จะหาวิธีการในการหาคำตอบได้ยาก ซึ่งการทำวิจัยจริงๆแล้วก็คือ ถามเอง ตอบเอง แต่ต้องตอบค้วยหลักฐานที่ได้มาตรฐานทางวิชาการ (academically sound) ตามวิธีการที่ได้รับการยอมรับในสายนั้นๆ การหา research questions มีความคล้ายคลึงกับ hypothesis testing คือ ตั้งสมมติฐานแล้วก็พิสูจน์เพื่อหาคำตอบ (there is a thesis in the thesis?) อาจารย์ที่ผู้เขียนนับถือมากท่านหนึ่งกล่าวว่าการถามคำถามที่ดีนั้นเป็นศิลปะ (art) หากแต่การค้นคว้าให้ได้มาซึ่งคำตอบนั้นถือเป็นงานศาสตร์ (science)

เสนอแผนการวิจัย (Research proposal)
Research proposal เป็นส่วนสำคัญมากในการวางแผนโครงการวิจัยซึ่งประกอบด้วยหลายส่วน โดยมากจะเริ่มจากการทบทวนงานที่เกี่ยวข้อง (literature review) ซึ่งนำไปถึงการให้เหตุผลในเรื่องที่ต้องการจะทำการวิจัย (rationale) และคำถามวิจัยหรือสมมติฐานการวิจัยที่ได้เอ่ยไปข้างต้น (research questions/ hypothesis) ส่วนต่อไปเป็นการนำเสนอระเบียบวิธีการทำวิจัย (methodology) รวมถึงออกแบบสอบถาม (questionnaire design) แผนการเก็บข้อมูล เชิงประมาณ หรือเชิงคุณภาพ พื้นที่ในการศึกษา (field site) ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้การศึกษา (sample size) แผนการวิจัยยังรวมไปถึงงบประมาณที่วางแผนไว้ (fieldwork budget) และรายละเอียดกำหนดเวลาในการวิจัย (timeline)

คณะอาจารย์ที่ปรึกษา (Supervisory panel)
คณะอาจารย์ที่ปรึกษามีส่วนสำคัญมากในช่วงชีวิตการเป็นนักศึกษาปริญญาเอก ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษากับอาจารย์แต่ละท่านขึ้นอยู่กับปัจเจก (personality) วิธีการทำงาน และการให้เวลากับนักเรียนของอาจารย์แต่ละท่าน คณะอาจารย์ที่ปรึกษาประกอบด้วยประธาน (chair of supervisory panel) ซึ่งส่วนมากจะเป็นอาจารย์ภายในคณะ อาจารย์หลักซึ่งมีส่วนอ่านงานค่อนข้างมาก (supervisor) และอาจารย์รองซึ่งเป็นผู้ให้คำปรึกษาในบางส่วนซึ่งอาจจะเป็นผู้เชี่ยวชาญนอกคณะ หรือในภาคสนาม (advisor) คณะอาจารย์ที่ปรึกษาอาจมีตั้งแต่ 2-5 คนแล้วแต่การตกลงกันของนักเรียน และคณะอาจารย์ที่ปรึกษา

ความคาดหวังจากอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจในระดับหนึ่ง มีอาจารย์ที่เคารพท่านหนึ่งสรุปให้ฟังสั้นว่า หน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษานั้นไม่ใช้ไว้บอกว่านักศึกษาทำอะไร เนื่องจากกระบวนการเรียนปริญญาเอกนั้นเพื่อให้เป็นการฝึกฝนในการเป็นนักวิจัย (independent researcher) ไม่ใช่เพียงแต่เป็นผู้ช่วยวิจัย(research assistant) และเนื่องจากการทำปริญญาเอกใช้เวลาค่อนข้างนาน เรื่อองที่ทำต้องเป็นเรื่องที่นักศึกษาสนใจจริงๆ จึงจะสามารถอยู่กับมันได้ หากแต่ประสบการณืการของอาจารย์ที่ปรึกษาที่เห็นน้กศึกษาจบกันมาได้ ช่วยในการตักเตือนหากนักศึกษาออกนอกลู่ในการวิจัย และช่วยดูว่างานยังดูมีความเชื่อถือทางวิชาการหรือไม่ (academically sound) ตลอดเวลาในการเรียนนั้น การสร้างช่องทางการสื่อสารกับอาจารย์ที่ปรึกษาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก (communication channel) เพื่อมีความคาดหวังที่ตรงกันทั้งสองฝ่าย

ความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักเรียนนั้นไม่หยุดนิ่งและเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละช่วงของการวิจัย (different stages of research) ในช่วงแรกอาจารย์จะแนะนำถึงแหล่งในการค้นหาข้อมูลเพื่อหาหัวข้อวิจัย อาจารย์ที่ปรึกษาไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่นักศึกษาค้นคว้า แต่เป็นผู้ที่พูดคุยให้คำปรึกษาในขั้นตอนและกระบวนการการทำวิจัยได้ (mentor) อาจารย์แต่ละท่านมีความเชี่ยวชาญที่ต่างกัน และอาจารย์แต่ละท่านก็มีทั้งงานวิจัยของตัวเอง และงานสอน ดังนั้นจึงอยู่ที่ตัวของนักเรียนในการเข้าหา และตกลงเรื่องการจัดเวลาในการเข้าพบอาจารย์แต่ละท่าน หรือเรียกประชุมทั้งคณะอาจารย์ที่ปรึกษา (panel meeting)

คณะอาจารย์ที่ปรึกษามีประธานเป็นนักระบาดวิทยาที่มีประสบการณ์มาก เปรียบเหมือนผู้จัดการและ เป็นผู้ดูภาพรวมของวิทยานิพนธ์ อาจารย์อีกท่านเป็นนักสถิติซึ่งมีส่วนสำคัญมากในการคุยเค้าโครงการวิเคราะห์ อาจารย์อีกท่านเป็นนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีส่วนช่วยมากในการประยุกต์ใช้เศรษฐมิติ (econometrics model) อาจารย์หลักอีกท่านเป็นนักประชากร ซึ่งมีความละเอียดมากในการให้คำแนะนำต่างๆ และอ่านทุกร่างของแต่ละบทอย่างละเอียด ผู้เขียนพยายามที่จะจัดกระจายความถี่ในการพบอาจารย์แต่ละท่านเพื่อให้งานพัฒนาย่างต่อเนื่อง ความท้าทายในการทำงานร่วมกับทีมคณะอาจารย์ที่ปรึกษาอาจมาจากลักษณะของวิทยานิพนธ์ที่คาบเกี่ยวกับหลายสาขาวิชา (multidisciplinary) และอาจารย์แต่ละท่านก็มีความเชี่ยวชาญต่างกัน มีแนวความคิดและ ใช้ภาษาทางวิชาการที่แตกต่างกัน (different terminology) การนำมาให้ความคิดเห็นตรงกันจึงไม่ใช่เรื่องง่าย จึงเป็นหน้าที่ของนักเรียนในการที่จะประสานงานและ ศิลปะในการจัดการคณะที่ปรึกษา (managing supervisor) ให้ได้ประสิทธิผลที่สุด

การนำเสนอหัวข้องานวิจัย (Thesis proposal seminar)
หลังการการเตรียมตัวประมาณ 6-9 เดือน การนำเสนอหัวข้องานวิจัยอย่างเป็นทางการทั้งทางการนำเสนอผ่านการสัมนาของคณะเปิดให้สาธารณะ (defend proposal) หรือเป็นการประเมินเฉพาะภายในคณะอาจารย์ที่ปรึกษา การนำเสนอหัวข้องานวิจัยเเพื่อดูความพร้อมและความชัดเจนของหัวข้อและคำถามการวิจัย และความเป็นไปได้ของวิธีการและขอบเขตวิจัยที่นำเสนอในเวลาที่กำหนด ก่อนที่นักศึกษาจะออกไปเก็บข้อมูลภาคสนามในปีที่ 2

โดยสรุปข้อดีของปีแรกคือการเหมือนได้มาเริ่มชีวิตการเป็นนักเรียนใหม่ มีความตื่นเต้นในการคิด และอ่านอย่างกว้างๆ ความกังวลอาจเนื่องมาจากการหาหัวข้อการทำวิจัย โดยเฉพาะดูเหมือนว่าจะต้องขนขวายและพยายามเรียนรู้ทุกอย่างด้วยตนเอง (learning how to learn) ซึ่งมาทราบภายหลังว่าเป็นหลักการเรียน PhD ผู้เขียนเปลื่ยน 4 หัวข้อในช่วง 4 เดือนแรกของ (จากเรื่องบุหรี่ เป็นเรื่องเหล้า เป็นเรื่องโลกาภิวัฒน์ และท้ายที่สุดมาลงเอยที่เรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางสุขภาพ) แต่ถ้ามองย้อนไปแล้วถือว่าช่วงปีแรกเป็นรากฐานที่สำคัญ การวางแผนที่ดี กำหนดวงงบประมาณและเวลาสำคัญมากเพราะเวลา 3-4 ปีในการทำ PhD ดูเหมือนว่าจะนานแต่จริงๆแล้ว แป๊ปเดียวปีแรกก็ผ่านไป หัวข้อก็ได้มา คราวนี้ก็มาถึงความท้าทายต่อไปก็คือจะลงมือทำได้ไหม และทำอย่างไร โดยเฉพาะเมื่อต้องลงภาคสนามในปีที่ 2

[1] Philllips, E.M. and Pugh, D.S. (1994). How to get a Ph.D.: a handbook for students and their supervisors. Philadelphia : Open University Press

2/23/2008

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 2 (Letter to Dad No.2)

จะเรียนอะไร เรียนเมื่อไหร่ เรียนที่ไหน จะเรียนอย่างไร และที่สำคัญจะเรียนไปทำไม
(Doing a PhD: What, When, Where, How, Why)


การตัดสินใจเรียน PhD มีองค์ประกอบหลายด้าน เพราะเป็นการลงทุนเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปีถ้าเรียนเต็มเวลาและมากกว่านั้นหากเรียนครึ่งเวลา หากคิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นการลงทุนที่มีค่าต้นทุนสูง (opportunity cost) ทั้งทางด้านเวลา ออกจากงาน เวลาจากครอบครัว สำหรับตัวผู้แต่งเองแล้วใช้ 5 คำถามหลักเป็นจุดเริ่มต้นในการตัดสินใจจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นหลัก สิ่งเตือนใจ และช่วยตอบคำถามตัวเองตลอดมาเวลาโดยเแพาะเวลาที่ท้อ แต่ต้องออกตัวว่าจากประสบการณ์นี้เป็นมุมมองของตัวเอง เพื่อนแต่ละคนก็มีจังหวะ (timing) ไม่เหมือนกัน อยากให้ผู้อ่านถือเป็น Guideline มากกว่าไม่ใช่จะหมาะกับสถามการณ์ของทุกคน (One size fits all) ผู้เขียนเพียงแต่อยากจะสะท้อนถึงจุดแข้ง จุดอ่อนในแต่ละข้อเลือก (pros and cons) จากวามคิดของประสบการณ์ของผู้เขียน “ม่มีทางเลือกไหนที่ดที่สุดหากแต่แล้สแต่วิจารณญาณในการเลือกมากกว่า ซึ่งผู้อ่านรู้ตนดีที่สุด

What, When, Where, How, Why เป็นการเริ่มคำถามหลักในภาษาอังกฤษ ฟังดูง่าย แต่ก็ครอบคลุมและมีความหมายที่คนตอบเข้าใจลึกซึ้งที่สุด แม้คำถามนี้จะคุ้นหูตามลำดับนี้แต่ ผลจริงๆแล้วแต่ละคนก็จัดความสำคัญ (priority setting) กับคำถามนี้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐาน ความพร้อมและปัจจัยอื่นๆอีกมาก

Why? เรียนไปทำไม คำตอบหลักๆ คือเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการวิจัย เพื่อเลื่อนระดับการทำงาน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจากการทำงาน เรียนเพื่อครอบครัว หรือแม้แต่ออกมาเรียนเพื่อหนีครอบครัว หรือง่ายๆคืออยากเป็นดอกเตอร์ จริงๆแล้วคำตอบที่ให้คนื่อนอย่างไรก็ไม่สำคัญเท่ากับคำตอบที่ให้กับตัวเอง เพราะนั่นจะเป็นสิ่งที่ให้ยึดเหนี่ยวตลอดเวลาหลายปีระหว่างการเรียนที่มีทั้งขึ้น ทั้งลง สำหรับต้วผู้เขียนเองแล้วรู้ว่าอยากเรียน PhD ตั้งแต่ยังเด็ก ประมาณ 10 ขวบตามคุณพ่อตอนที่พ่อเรียน จำได้ว่าพ่อเรียนหนักมาก และมีปัญหาด้านสายตา ก็เลยรู้สึกว่าถ้ามีโอกาสเมื่อไหร่ก็จะเรียนทันที พ่อผู้เขียนเป็นแรวบันดาลใจที่สำคัญมากตลอดมา พ่อเป็นนักวิชาการ นักเขียน วิทยากรอาชีพทางด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนาทีมงาน และองค์กร สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจบัน สถาบันพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา) ผู้เขียนติดตามคุณพ่อไปบรรยายตั้งแต่ยังเด็ก และก็คุ้นเคยกับแวดวงการศึกษา การเรียนต่อระดับสูงจึงเป็นเหมือนขั้นตอนตามธรรมชาติ (natural step)

How? เรียนอย่างไร สำหรับผู้เขียน เหมือนกับเป็นคำถามลองเชิงทางปฏิบัติการ (practical question) เพราะการลงทุนค่าใช้การค่อนข้างสูงไม่ว่าจะเป็นค่าเรียน (ประมาณ 10,000 AUD ต่อเทอม อย่างต่ำ 6 เทอม) ค่าใช้จ่าย (เดือนละประมาณ 1000-1500 AUD) และการหาทุนไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้ารับทุนจากมหาวิยาลัยเมืองไทย หรือรัฐบาลก็เป็นเรื่องดี แต่ก็เป็นพันธะในระดับหนึ่ง การหาทุนให้เล่าจากมหาวิทยาลัยที่จะไปเรียนก็มีความเป็นไปได้ แต่ต้องเป็นในหัวข้อที่เป็นที่ต้องการ การใช้เงินตัวเก็บเรียนก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดหนักเนื่องจากต้องลงทุนเป็นอย่างน้อยกว่า 100,000AUD

Where? เรียนที่ไหน ก็เป็นกาาตัดสินใจที่ค่อนข้างใหญ่ การตัดสินใจเรียนในประเทศก็เป็นเรื่องดี เนื่องจากไม่ต้องยุ่งยากในการย้ายและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ได้อยู่ใกล้ชิดครอบคัว และอาจทำงานประจำได้ในขณะเดียวกัน แต่การหออกมาเรียนต่างประเทศนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีในการได้เรียนรู้ภาษา วิธีการรู้การสอน ฐานข้อมูลทางการวิจัยในระดับนานาชาติ ผู้เขียนสมัครเรียนใน 3 ประเทศ Australia, UK, and USA ซึ่งแต่ละที่ก็มีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบต่างกัน สรุปโดยสั้นสำหรับฐานการตัดสินในของผู้เขียน (rationale) การทำ PhD มีทั้งแบบมีวิชาเรียน (coursework) และแบบทำวิจัยอย่างเดียว (PhD by research)

ระบบของ Australia และ UK จะไม่เน้นหนักทางด้าน coursework และปริญญาจะมาจากตัววิทยานิพนธ์ (70,000-100,000 คำ) ใช้เวลาในการเรียนประมาณ 3-4 ปี ข้อเสียเปรียบอาจเป็นว่าระบบนี้ นักศึกษาอาจจจะไม่ได้เพิ่มฐานความรู้จากการเรียนในชั้นเรียนแต่เป็นการเรียนรู้ด้วนตนเองจากการฝึกการทำวิจัย (learning by doing) ผู้ที่เข้าเรียนในระบบนี้ส่วนมากจะเน้นในการเป็นนักวิจัยเฉพาะด้าน

ในระบบ USA ส่วนมากจะต้องใช้เวลา 2 ปีแรกในการเรียนวิชาพื้นฐาน และวิชาการทำวิจัย หลังจากนั้นจะมีการสอบ Comprehensive exam ซึ่งเป็นการสอบที่ยิ่งใหญ่มาก (ตอนที่ผู้เขียนเรียนปริญญาโท รู้จักรุ่นที่หลายคนที่เรียน PhD ช่วงการเตรียมตัวสอบนั้นดูหนักหน่วงมาก และช่วงอาทิตย์ที่สอบโทรมไปตามๆกัน ดูเหมือนทุกคนจะเห็นตรงกันว่าเป็นการสอบทางวิชาการที่หนักที่สุด) หลังจากสอบผ่านก็จะได้เป็น ABD – All But Dissertation ก็คือผ่านสอบแล้วเหลือแต่ทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งหลายคนหลังจากผ่านการสอบ ก็หมดแรง (และบางคนก็หมดเงิน) ฏ้เลยออกไปทำงานช่วยสอน หรืองานช่วยวิจัย (TA – Teaching Assistant or RA – Research Assistant) สักพัก แต่สักพักของเพื่อนบางคนก็ติดลมเป็นปีกว่าจะมาเริ่มทำวิทยานิพนธ์ แต่ก็ได้สั่งสมประสบการณ์ชั่วโมงบินในการสอน การวิจัยไปด้วยในขณะเดียวกัน ดังนั้โดยเฉลี่ยอาจใช้เวลา 4-7 ปี

When? เรียนเมื่อไหร่ คำถามนี้สำคัญมาก จังหวะ-เวลา-โอกาสเป็นตัวกำหนดทุกอย่าง (Timing is everything) แต่ในขณะเดียวกันเราก็เป็นคนเตรียมตัวให้พร้อม ใฝ่หาโอกาส และตัดสินใจในการใช้โอกาสนั้นเมื่อมันมาถึง อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น PhD อาจใช้เวลากว่า 3-7 ปีของชีวิตการเป็นผู้ใหญืซึ่งการลงทุนนั้นอางแลกมาด้วยโอกาสในการทำอย่างอื่น (trade-off) ไม่ว่ากับเรื่องส่วนตัว หรือความก้าวหน้าในการทำงาน การเลือกเรียนในช่วงอายุ 20-30, 30-40, 40-50, 50 ขึ้นไป จึงเป็นเรื่องที่แล้วแต่บุคคล ไม่ไม่ใครตอบได้ว่าช่วงไหนดีที่สุด ดั่งเช่นการตดสินในการทำทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อได้เปรียน เสียเปรียบ การมีโอกาสได้เรียนต่อตั้งแต่อายุน้อยก็เป็นเรื่องดี เพราะยังสมาธิดี (อึดทางกาย) ยังไม่มีทิฐิมาก ยอมรับและเรียนรู้อะไรได้ง่าย อาจยังไม่มีพันธะเรื่องคู่ครองหรือครอบครัว ข้อเสียเปรียบอาจจะเป็นที่ยังไม่มีประสบการณ์ทางเทคนิค หรือเนื้อหาเรื่องที่จะวิจัย ชั่วโมงบินอางน้อยกว่าและขาดความมั่นใจในบางครั้ง



  • การเรียนต่อในช่วงกลางวัยทำงานก็เป็นเรื่องดี เพราะมีประสบการณ์พอสมควร อาจต้องการช่วงพักจากการทำงานมาหาความรู้เพิ่มเติม ค้นคว้าในเรื่องที่สนใจ แต่อาจการเรียนอางต้องทุ่มเทมากและอาจไม่มีเวลาให้แก่ครอบครัว หรือการพักจากงานอาจทำให้ครอบครัวต้องแบกรับค่าใช้จ่าย

  • การเรียนต่อในช่วงปลายทำงานก็เป็นเรื่องดี เพราะว่าได้เติมเต็มชีวิตการทำงานแล้ว มีฐานะทางการงานที่มั่นคง ภาระทางครอบครัวอาจจะน้อยลง และก็เป็นการเติมเต็มในการได้ใช้ทักษะการเรียนรู้อีกครั้ง ข้อเสียเปรียบอาจเป็นสำหรับคนที่มีประสบการณ์มากอาจจะเป็นเรื่องยากในการกลับมานับหนึ่งใหม่อีกครั้ง โลกการเรียนเป็นเพียงการจำลองของโลกแห่งความจริง มีสมมติฐานต่างๆ ดังนั้นอางจต้องใช้การปรับตัวในการเปิดรับกฏ กติกาของการเรียน (playing by the rule)

What? เรียนอะไร ไม่ใช่เพียงแต่เลือกเรียนสายอะไรแต่ยังหมายถึงวิทยานิพนธ็เกี่ยวกับเรื่องอะไร ซึ่งอาจใช้เวลาพอสมควรในการค้นหา เรื่องที่เขียนใน proposal ตอนสมัครเรียนอาจต่างจาเอรื่องที่ทำจริงอย่างสิ้นเชิง การยอมรับในการเปลี่ยนแปลงตลอดดวลา (constantly changing) จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญดอกหนึ่งในการเรียน มีผู้ใหญ่ที่ผู้เขียนเคารพท่านหนึ่งสอนผู้เขียนว่า เรื่องที่เลือกควรเป็นเรื่องที่เราสนใจพอที่เราจะอยู่กับมันได้ ที่เราจะยังหาความสนใจในมันได้ในวันที่มันไม่เหลือความน่าสนใจก็ตาม การหาเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย


จะขยายความต่อไปในส่วนต่อไป ซึ่งเกี่ยวกับปีแรกของการทำเสาะหาหัวข้อวิจัย (in search of thesis topic)

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 1 (Letter to Dad No.1)

ชีวิตคือการเรียนรู้

บทความต่อไปนี้เกี่ยวกับการเดินทางสู่ ความเป็นดอกเตอร์ ของลูกสาวของพ่อ ประสบการณ์ครั้งนี้นี้เป็นประสบการณ์ที่เหมือนการวิ่งมาราธอน ที่ยิ่งใหญ่มากทั้งในการพัฒนาตนเองทางด้านส่วนตัว และทางวิชาการของลูก ระหว่าง 3 ปีเรียนได้พบพูดคุยกัยอาจารย์ เพื่อน ครอบครัว ซึ่งทำให้ได้รู้จักจุดเด่น จุดด้อยของตัวเอง และก็น่าเสียดายหากไม่ได้บันทึกให้พ่อได้อ่าน และเผยแพร่ความทรงจำที่มีค่าชิ้นนี้ บทความชุดนี้อาจถือได้ว่าเป็นภาค 2 ของ หนังสือ “ส่งลูกไปเรียนนอก” ซึ่งครอบครัวของเราแต่งและรวบรวม ซึ่งพวกเราก็ภูมิใจที่ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากผู้อ่านไม่ว่าจะทางอีเมลล์ หรือโทรศัพท์ และพวกเราดีใจที่ได้มีส่วนช่วยเผยแพร่ประสบการณ์และที่อาจเป็นประโยชน์ต่อ ผู้อ่านไม่มากก็น้อย

ประสบการณ์นี้ถ่ายทอดจากการเรียนปริญญาเอกทางด้านสาธารณสุข (Doctor of Public Health or Doctor of Philosophy) รับทุนความร่วมมือจาก Wellcome Trust UK และ Australian National Health and Medical Research เรียนต่อปริญญาเอกด้านระบาดวิทยาและสุขภาพประชากร (National Centre for Epidemiology and Population Health) ณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) กรุง แคนเบอร่า (Canberra)