2/23/2008

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 2 (Letter to Dad No.2)

จะเรียนอะไร เรียนเมื่อไหร่ เรียนที่ไหน จะเรียนอย่างไร และที่สำคัญจะเรียนไปทำไม
(Doing a PhD: What, When, Where, How, Why)


การตัดสินใจเรียน PhD มีองค์ประกอบหลายด้าน เพราะเป็นการลงทุนเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปีถ้าเรียนเต็มเวลาและมากกว่านั้นหากเรียนครึ่งเวลา หากคิดอย่างนักเศรษฐศาสตร์นั้นเป็นการลงทุนที่มีค่าต้นทุนสูง (opportunity cost) ทั้งทางด้านเวลา ออกจากงาน เวลาจากครอบครัว สำหรับตัวผู้แต่งเองแล้วใช้ 5 คำถามหลักเป็นจุดเริ่มต้นในการตัดสินใจจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นหลัก สิ่งเตือนใจ และช่วยตอบคำถามตัวเองตลอดมาเวลาโดยเแพาะเวลาที่ท้อ แต่ต้องออกตัวว่าจากประสบการณ์นี้เป็นมุมมองของตัวเอง เพื่อนแต่ละคนก็มีจังหวะ (timing) ไม่เหมือนกัน อยากให้ผู้อ่านถือเป็น Guideline มากกว่าไม่ใช่จะหมาะกับสถามการณ์ของทุกคน (One size fits all) ผู้เขียนเพียงแต่อยากจะสะท้อนถึงจุดแข้ง จุดอ่อนในแต่ละข้อเลือก (pros and cons) จากวามคิดของประสบการณ์ของผู้เขียน “ม่มีทางเลือกไหนที่ดที่สุดหากแต่แล้สแต่วิจารณญาณในการเลือกมากกว่า ซึ่งผู้อ่านรู้ตนดีที่สุด

What, When, Where, How, Why เป็นการเริ่มคำถามหลักในภาษาอังกฤษ ฟังดูง่าย แต่ก็ครอบคลุมและมีความหมายที่คนตอบเข้าใจลึกซึ้งที่สุด แม้คำถามนี้จะคุ้นหูตามลำดับนี้แต่ ผลจริงๆแล้วแต่ละคนก็จัดความสำคัญ (priority setting) กับคำถามนี้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับพื้นฐาน ความพร้อมและปัจจัยอื่นๆอีกมาก

Why? เรียนไปทำไม คำตอบหลักๆ คือเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการวิจัย เพื่อเลื่อนระดับการทำงาน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศจากการทำงาน เรียนเพื่อครอบครัว หรือแม้แต่ออกมาเรียนเพื่อหนีครอบครัว หรือง่ายๆคืออยากเป็นดอกเตอร์ จริงๆแล้วคำตอบที่ให้คนื่อนอย่างไรก็ไม่สำคัญเท่ากับคำตอบที่ให้กับตัวเอง เพราะนั่นจะเป็นสิ่งที่ให้ยึดเหนี่ยวตลอดเวลาหลายปีระหว่างการเรียนที่มีทั้งขึ้น ทั้งลง สำหรับต้วผู้เขียนเองแล้วรู้ว่าอยากเรียน PhD ตั้งแต่ยังเด็ก ประมาณ 10 ขวบตามคุณพ่อตอนที่พ่อเรียน จำได้ว่าพ่อเรียนหนักมาก และมีปัญหาด้านสายตา ก็เลยรู้สึกว่าถ้ามีโอกาสเมื่อไหร่ก็จะเรียนทันที พ่อผู้เขียนเป็นแรวบันดาลใจที่สำคัญมากตลอดมา พ่อเป็นนักวิชาการ นักเขียน วิทยากรอาชีพทางด้านการพัฒนาตนเอง การพัฒนาทีมงาน และองค์กร สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจบัน สถาบันพัฒนาครู อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา) ผู้เขียนติดตามคุณพ่อไปบรรยายตั้งแต่ยังเด็ก และก็คุ้นเคยกับแวดวงการศึกษา การเรียนต่อระดับสูงจึงเป็นเหมือนขั้นตอนตามธรรมชาติ (natural step)

How? เรียนอย่างไร สำหรับผู้เขียน เหมือนกับเป็นคำถามลองเชิงทางปฏิบัติการ (practical question) เพราะการลงทุนค่าใช้การค่อนข้างสูงไม่ว่าจะเป็นค่าเรียน (ประมาณ 10,000 AUD ต่อเทอม อย่างต่ำ 6 เทอม) ค่าใช้จ่าย (เดือนละประมาณ 1000-1500 AUD) และการหาทุนไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้ารับทุนจากมหาวิยาลัยเมืองไทย หรือรัฐบาลก็เป็นเรื่องดี แต่ก็เป็นพันธะในระดับหนึ่ง การหาทุนให้เล่าจากมหาวิทยาลัยที่จะไปเรียนก็มีความเป็นไปได้ แต่ต้องเป็นในหัวข้อที่เป็นที่ต้องการ การใช้เงินตัวเก็บเรียนก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดหนักเนื่องจากต้องลงทุนเป็นอย่างน้อยกว่า 100,000AUD

Where? เรียนที่ไหน ก็เป็นกาาตัดสินใจที่ค่อนข้างใหญ่ การตัดสินใจเรียนในประเทศก็เป็นเรื่องดี เนื่องจากไม่ต้องยุ่งยากในการย้ายและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ ได้อยู่ใกล้ชิดครอบคัว และอาจทำงานประจำได้ในขณะเดียวกัน แต่การหออกมาเรียนต่างประเทศนั้นก็เป็นเรื่องที่ดีในการได้เรียนรู้ภาษา วิธีการรู้การสอน ฐานข้อมูลทางการวิจัยในระดับนานาชาติ ผู้เขียนสมัครเรียนใน 3 ประเทศ Australia, UK, and USA ซึ่งแต่ละที่ก็มีข้อได้เปรียบ เสียเปรียบต่างกัน สรุปโดยสั้นสำหรับฐานการตัดสินในของผู้เขียน (rationale) การทำ PhD มีทั้งแบบมีวิชาเรียน (coursework) และแบบทำวิจัยอย่างเดียว (PhD by research)

ระบบของ Australia และ UK จะไม่เน้นหนักทางด้าน coursework และปริญญาจะมาจากตัววิทยานิพนธ์ (70,000-100,000 คำ) ใช้เวลาในการเรียนประมาณ 3-4 ปี ข้อเสียเปรียบอาจเป็นว่าระบบนี้ นักศึกษาอาจจจะไม่ได้เพิ่มฐานความรู้จากการเรียนในชั้นเรียนแต่เป็นการเรียนรู้ด้วนตนเองจากการฝึกการทำวิจัย (learning by doing) ผู้ที่เข้าเรียนในระบบนี้ส่วนมากจะเน้นในการเป็นนักวิจัยเฉพาะด้าน

ในระบบ USA ส่วนมากจะต้องใช้เวลา 2 ปีแรกในการเรียนวิชาพื้นฐาน และวิชาการทำวิจัย หลังจากนั้นจะมีการสอบ Comprehensive exam ซึ่งเป็นการสอบที่ยิ่งใหญ่มาก (ตอนที่ผู้เขียนเรียนปริญญาโท รู้จักรุ่นที่หลายคนที่เรียน PhD ช่วงการเตรียมตัวสอบนั้นดูหนักหน่วงมาก และช่วงอาทิตย์ที่สอบโทรมไปตามๆกัน ดูเหมือนทุกคนจะเห็นตรงกันว่าเป็นการสอบทางวิชาการที่หนักที่สุด) หลังจากสอบผ่านก็จะได้เป็น ABD – All But Dissertation ก็คือผ่านสอบแล้วเหลือแต่ทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งหลายคนหลังจากผ่านการสอบ ก็หมดแรง (และบางคนก็หมดเงิน) ฏ้เลยออกไปทำงานช่วยสอน หรืองานช่วยวิจัย (TA – Teaching Assistant or RA – Research Assistant) สักพัก แต่สักพักของเพื่อนบางคนก็ติดลมเป็นปีกว่าจะมาเริ่มทำวิทยานิพนธ์ แต่ก็ได้สั่งสมประสบการณ์ชั่วโมงบินในการสอน การวิจัยไปด้วยในขณะเดียวกัน ดังนั้โดยเฉลี่ยอาจใช้เวลา 4-7 ปี

When? เรียนเมื่อไหร่ คำถามนี้สำคัญมาก จังหวะ-เวลา-โอกาสเป็นตัวกำหนดทุกอย่าง (Timing is everything) แต่ในขณะเดียวกันเราก็เป็นคนเตรียมตัวให้พร้อม ใฝ่หาโอกาส และตัดสินใจในการใช้โอกาสนั้นเมื่อมันมาถึง อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น PhD อาจใช้เวลากว่า 3-7 ปีของชีวิตการเป็นผู้ใหญืซึ่งการลงทุนนั้นอางแลกมาด้วยโอกาสในการทำอย่างอื่น (trade-off) ไม่ว่ากับเรื่องส่วนตัว หรือความก้าวหน้าในการทำงาน การเลือกเรียนในช่วงอายุ 20-30, 30-40, 40-50, 50 ขึ้นไป จึงเป็นเรื่องที่แล้วแต่บุคคล ไม่ไม่ใครตอบได้ว่าช่วงไหนดีที่สุด ดั่งเช่นการตดสินในการทำทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อได้เปรียน เสียเปรียบ การมีโอกาสได้เรียนต่อตั้งแต่อายุน้อยก็เป็นเรื่องดี เพราะยังสมาธิดี (อึดทางกาย) ยังไม่มีทิฐิมาก ยอมรับและเรียนรู้อะไรได้ง่าย อาจยังไม่มีพันธะเรื่องคู่ครองหรือครอบครัว ข้อเสียเปรียบอาจจะเป็นที่ยังไม่มีประสบการณ์ทางเทคนิค หรือเนื้อหาเรื่องที่จะวิจัย ชั่วโมงบินอางน้อยกว่าและขาดความมั่นใจในบางครั้ง



  • การเรียนต่อในช่วงกลางวัยทำงานก็เป็นเรื่องดี เพราะมีประสบการณ์พอสมควร อาจต้องการช่วงพักจากการทำงานมาหาความรู้เพิ่มเติม ค้นคว้าในเรื่องที่สนใจ แต่อาจการเรียนอางต้องทุ่มเทมากและอาจไม่มีเวลาให้แก่ครอบครัว หรือการพักจากงานอาจทำให้ครอบครัวต้องแบกรับค่าใช้จ่าย

  • การเรียนต่อในช่วงปลายทำงานก็เป็นเรื่องดี เพราะว่าได้เติมเต็มชีวิตการทำงานแล้ว มีฐานะทางการงานที่มั่นคง ภาระทางครอบครัวอาจจะน้อยลง และก็เป็นการเติมเต็มในการได้ใช้ทักษะการเรียนรู้อีกครั้ง ข้อเสียเปรียบอาจเป็นสำหรับคนที่มีประสบการณ์มากอาจจะเป็นเรื่องยากในการกลับมานับหนึ่งใหม่อีกครั้ง โลกการเรียนเป็นเพียงการจำลองของโลกแห่งความจริง มีสมมติฐานต่างๆ ดังนั้นอางจต้องใช้การปรับตัวในการเปิดรับกฏ กติกาของการเรียน (playing by the rule)

What? เรียนอะไร ไม่ใช่เพียงแต่เลือกเรียนสายอะไรแต่ยังหมายถึงวิทยานิพนธ็เกี่ยวกับเรื่องอะไร ซึ่งอาจใช้เวลาพอสมควรในการค้นหา เรื่องที่เขียนใน proposal ตอนสมัครเรียนอาจต่างจาเอรื่องที่ทำจริงอย่างสิ้นเชิง การยอมรับในการเปลี่ยนแปลงตลอดดวลา (constantly changing) จึงเป็นกุญแจดอกสำคัญดอกหนึ่งในการเรียน มีผู้ใหญ่ที่ผู้เขียนเคารพท่านหนึ่งสอนผู้เขียนว่า เรื่องที่เลือกควรเป็นเรื่องที่เราสนใจพอที่เราจะอยู่กับมันได้ ที่เราจะยังหาความสนใจในมันได้ในวันที่มันไม่เหลือความน่าสนใจก็ตาม การหาเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย


จะขยายความต่อไปในส่วนต่อไป ซึ่งเกี่ยวกับปีแรกของการทำเสาะหาหัวข้อวิจัย (in search of thesis topic)

3 Comments:

At 10:47 AM, Anonymous Anonymous said...

เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมที่ดีครับ ยิ่งเป็นการเรียนในระดับสูงและเฉพาะด้านที่ต้องทุ่มเทอย่างมากนี้ด้วยแล้ว การมองเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้นและลดปัญหาจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ให้น้อยลง ย่อมทำให้โอกาสในการเรียนจบมากขึ้นครับ

 
At 9:03 PM, Anonymous Anonymous said...

อยากทราบข้อได้เปรียบและเสียเปรียบของประเทศ Australia UK และUSA ของผู้เขียนคะ ว่าทำไมสุดท้ายแล้วผู้เขียนจึงเลือกเรียนที่ Australia
กำลังจะไปเรียนปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมอุตสาหการคะ และต้องตัดสินใจเลือกระหว่าง Australia กับ Germany ถึงขนาดทำ Decision Matrix based on many conditions ผลออกมาว่า Australia แต่นั้นก็เป็นเหตุเป็นผล ส่วนความรู้สึกนั้นอยากไป Germany

กุ๊ก

 
At 3:27 AM, Blogger Anukul said...

Thanks for your message ka K. กุ๊ก--Sorry, I don't have Thai font with me here.

I like your decision matrix idea ka :) I was also looking into London School/UK and John Hopkins/USA. Partly, I chose Australia because I got offered a full schlarship and stipend andpartly because I've already lived in Europe and USA and want to live somewhere different (and warm!)So they are both logical and personal reasons ka.

Do keep in mind that whichever one you choose you have to be there at least for 3 years so it should be somewhere you enjoy too!

Good luck with you decision ka :)

 

Post a Comment

<< Home