8/12/2009

Singapore & Malaysia

บทนี้กระเถิบเข้าใกล้บ้านเรามาอีกหน่อย จะพูดถึงประเทศส่วนหนึ่ง ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ไทย , มาเลเซีย , ฟิลิปปินส์ , อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, บรูไน, ลาว , กัมพูชา, เวียดนาม และพม่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่

สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Republic of Singapore) เป็นนครรัฐที่ตั้งอยู่บนเกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมาเลย์ อยู่ทางใต้ของประเทศมาเลเซีย และอยู่ทางเหนือของประเทศอินโดนีเซีย เป็นประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาค เป็นประเทศที่หนาแน่นเป็นอันดับ 2 ของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 4 ล้านคน ประกอบด้วยชาวจีน กว่า 75% ชาวมาเลย์ 15% ชาวอินเดีย 8% จากการที่มีประชากรหลายเชื้อชาติ สิงคโปร์จึงมีผู้นับถือศาสนาต่าง ๆ คือ พุทธศาสนา ฮินดู คริสต์

ตอนนั้นไปเปลี่ยนเเครื่องที่สิวคโปร์จาก ดาร์วิน ประเทศออสเตรเลีย กลับเมืองไทยสายการบินไทเกอร์ (Tiger Air) ก็เลยแวะออกไปเที่ยวในสิงคโปร์ สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมมักอยู่ในตอนกลาง ได้แก่ พื้นที่บริเวณ Marina Bay, แม่น้ำสิงคโปร์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเมอร์ไลออน (Merlion) รูปปั้นนี้มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา เครื่องหมายประจำชาติสิงคโปร์, อาคารโรงละคร Esplanade ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่, สถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำ บริเวณพื้นที่ริมน้ำ ได้แก่ Clarke Quay, Boat Quay, ย่านไชน่าทาวน์ (China Town) , ย่าน Little India ติดใจอาหารที่มีให้เลือกหลากหลาย, ย่านชอปปิ้ง บนถนนออร์ชาร์ด Orchard ส่วนมากก็เป็นสินค้าแบรนด์เนม ประเทศเขาเข้มงวด ไม่ค่อยมีของปลอม การเดินทางในเมืองสะดวก สามารถเข้าถึงได้โดยรถไฟ MRT และ รถประจำทาง ได้แก่ เกาะเซนโตซา (Sentosa Island) บริเวณ Harbour Front, สวนนกจูร่ง (Jurong Birdpark) มีพื้นที่ที่มากกว่า 20 เอเคอร์ และมีนกกว่า 5,000 ชนิด






ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ คาบสมุทรมลายู ส่วนที่สองคือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน มีกรุงกัลลาลัมเปอร์ (Gualalumpur) เป็นมืองหลวง อิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% ศาสนาพุทธ 25% ศาสนาคริสต์ 13% ศาสนาฮินดู 7%
ตอนนั้นไปลงกัวลาลัมเปอร์ ด้วยสายการบินแอร์เอเซีย (Air Asia) บินไปเปลี่ยนเครื่องจากเมลเบิร์น ประทเศออสเตรเลีย กลับเมืองไทย ตอนนั้นออกไปตั้งใจไปดู อาคารหอคอยคู่เปโตรนาส (Petronas Twin Towers) เป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของเมืองกัวลาลัมเปอร์ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางย่านธุรกิจของเมือง ล้อมด้วยสวนสาธารณะ อาคารเปโตรนาส มี 2 อาคารหอคอย เป็นอาคารที่สูงอันดับ 3 และ 4 ของโลก รองจากเมืองเซี่ยงไฮ้ และประเทศไต้หวัน

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศปาปัวนิวกินี และ ประเทศติมอร์ตะวันออก มีจาการ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ชาวอินโดนีเซียมีภาษาที่ใช้เป็นทางการมีรากฐานมาจากภาษามลายู เรียกว่า ภาษาบาฮาซาอินโดนิเซีย ศาสนา อินโดนีเซียหลักคือศาสนาอิสลาม 87% ศาสนาคริสต์ 10% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 2% นอกจากเมืองหลวงเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงแล้วอีกที่ที่ตัวเองสนใจ คือเมืองเดนปาซาร์ (Denpasar) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองในบาหลี (Bali) รวมประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยวมีหาดทรายสวยงาม เต็มไปด้วยรีสอร์ตและที่พัก เดนปาซาร์มีประวัติศาสตร์มาช้านานตั้งแต่สมัยยุคทองของบาหลีที่มีการเดินเรือค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้บริเวณทางภาคใต้นี้มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง

สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะกว่าจำนวน 7,000 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา (Manila) สองอิทธิพลใหญ่ที่สุดต่อวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์ 8nvประเทศสเปน (Spain) และสหรัฐอเมริกา (The United States of America) ได้ครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคมเป็นเวลา 4 ศตวรรษ ประเทศฟิลิปปินส์ เป็นชาติเดียวในเอเชีย ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ เป็นการผสมผสานกันระหว่างตะวันตกและตะวันออก วัฒนธรรมฟิลิปปินส์จะมีส่วนคล้ายกับประเทศในละตินอเมริกา ร้อยละ 92 ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิก โดยฟิลิปปินส์นั้น มีภาษาประจำชาติคือ ภาษาตากาล็อก (tagalog) แต่คนก็ตากาล็อกคำอังกฤษคำ ผสมกันไปในประโยค

0 Comments:

Post a Comment

<< Home