3/12/2008

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 5 (Letter to Dad No.5)

Year 2 Part III: The break down (November 2006)—I’m going home

แม้ว่าช่วงการวิเคราะห์ในช่วงแรกจะเป็นไปได้ด้วยดี โดยได้นำเสนอผลข้างต้นต่อคณะ (mid-term review/post field presentation) เพียง 4 เดือนหลังจากกลับมาจากภาคสนาม ผลตอบรับโดยรวมจากอาจารย์ก็ดี กลัยมาได้ข่าวดีว่าอาจารย์เศณษฐศาสตร์สุขภาพตั้งท้อง (ลูกชายคนโตแกกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย แกก็ตื่นเต้นที่จะมีลูกเล็ก แกยังมีการแซวว่าลูกคนนั้ก็เหมือนตอนแกทำปริญญาเอกใบที่สอง พอจบใบแกแล้วก็ลืมความเจ็บปวดต่างๆไป เราก็ทำหน้าไปถูกไม่รู้ว่าควรจะขำหรือเปล่า) ตอนที่อาจารย์จะลาาท้อง(ส่วนใหญ่ฝรั่งลาท้องไม่เพียงแต่ลาคลอด ค่อนข้างนาน อาจถึง 6-8 เดือน) พวกเราก็เคยคุยกันว่าสำหรับนักเรียนปริญญาเอกแล้ว การที่ “ซุป (supervisor)ย้าย ซุปตาย ซุปท้อง” นั้น อาจมีผลทำให้การทำวิจัยวักกระตุกได้ โดยเฉพาะ ถ้าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ
ในกรณีที่อาจารย์ย้ายมหาวิทยาลัยหรือสังกัด ในบางสายวิชามีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน นักเรียน PhD บางส่วนจึงเลือกคณะ และมหาวิทยาลัยต้นสังกัดของอาจารย์ ดังนั้นเมื่ออาจารย์ย้ายกลางคัน รุ่นพี่ของผู้เขียนก็เลยต้องย้ายมหาวิทยาลัยตาม โดยเฉพาะถ้างานกำลังอยู่ครึ่งๆ กลางๆ จะเริ่มงานกับอาจารย์ท่านใหม่ก็อาจจะลำบาก ในกรณีของผู้เขียน เมื่ออาจารย์ลาคลอดกลับมา ก็ขอย้านถาวรไปยุโรป ก็เลยได้แจ๊กพ็อตสองเด้งเลย

เมื่อโมเดลมีปัญหา– ระหว่างที่อาจารย์อยู่ ผู้เขียนก็เข้าพบทุก 2 อาทิตย์งานก็เลยไม่มีติดขัด จนพออาจารย์ไปสักพักเริ่มมีข้อสงสัยในเรื่องโมเดล ก็เลยต้องถูไถไปเลย พอหลายอาทืตย์เข้าก็เกิดอาการไม่แน่ใจว่าที่ทำไปถูกต้องหรือเปล่า เนื่องจากคณะผู้เขียนเป็นคณะระบาดวิทยาจึงไม่ค่อยมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์สุขภาพ และเนื่องจากโมเดลการวัดความความไม่เท่าเทียมทางการกระจาย (concentration index and decomposition method) ยังไม่เป็นที่ใช้อย่างแพร่หลายและค่อนข้างซับซ้อน ผู้เขียนก็พยายามขอความช่วยเหลือจากอาจารย์นอกคณะท่านอื่น ซึ่งก็ไม่ง่ายในการอธิบายบริบท (context) เพื่อจะแก้ปัยหาที่ติดขัด ทำให้ได้เห็นสัจธรรมการวิจัยว่า ทำไปทำมาเกือบปีครึ่งไม่ค่อยได้คุยกับใครนอกจากอาจารย์ตัวเอง เราก็รู้เรื่องที่เราทำลึกซึ้ง แต่กลับกลายเป็นว่าเต็มไปด้วยสัพท์เทคนิค (jargons) เน้นรายละเอียดเทคนิค (technical details)มาก เป็นความท้าทายในการอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ (Albert Einstein ครั้งหนึ่งกล่าวว่า If you cann’t explain it simply, you don’t understand it well enough). ตอนนั้นก็ตะหนกว่าไม่ใช่เดี๋ยวยิ่งเรียนสูงจะยิ่งพูดไม่รู้เรื่องไหนเนี่ยเรา

เมื่องานเก่าถามหา เริ่มสงสัยว่าตัดสินใจมาเรียนนี่ผิดหรือเปล่า – พอเกิดปัญหาเรื่องโมเดลสักพัก ก็เกิดอาการหวั่นใจว่า งานวิยานิพนธ์จะว่มไหม คิดอยู่คนเดียวทำอยู่คนเดียวตอนนั้น ก็มาประจวบเหมาะกับได้ข่าวจากที่ทำงานเดิมที่เจนีวา ว่าคนที่รับตำแน่งต่อจากเรากำลังจะลาคลอดแล้วเขาต้องการคนมาเสียบเป็นเวลา 6 เดือนและเขาก็เสนอมาเห็นเราคุ้นเคยกับงานและเผื่อว่าเราต้องการพักชั่วคราวจากการเรียน ตอนนั้นคิดหนักและหวั่นใจมาก งานทางนี้ก็เดินช้ามากไม่รู้จะหาทางแก้ (ไอ้)โมเดลนี้อย่างไร หดหู่ ตอนนั้นเส้นผมบังภูเขา คิดว่า เฮ้อ กลับไปก็ดี รู้ว่าเราทำงานเก่าได้ดี (ตอนนั้นลืมไปหมดเลยว่าทำไมถึงอยากออก และมาเรียน จริงๆแล้วรักงานที่ทำมาก ทีมและหัวหน้าก็ดีมาก งานก็เครียดแต่ท้าทาย) แต่ตอนนั้นมึนคิดไม่ออก ดูยังไง ยังไงหญ้าอีกฝั่งก็เขียวกว่าอีกด้าน (the grass is always greener on the other side of the fence) เป็นคำเปรียบเปรยที่ชอบมากเพราะว่า บางทีคนเราก็คิดว่าสิ่งที่อีกฝั่งหนึ่งมีดูดีกว่าฝั่งตัวเองเสมอ ซึ่งพอข้ามไปอีกฝั่งก็อาจจะคิดอีกว่า เฮ้ยจริงๆ แล้วฝั่งที่เคยอยู่ดูดีกว่า เรียน PhD นี่ชั่เหมือนเรียนปรัชญาชีวิตจริงๆ แต่ตอนนั้นก็กังวลว่าถ้าตัดสินใจกลับไปรับตำแหน่ง อาจจะไม่อยากกลับมาแล้วก็ได้ แล้วก็ไม่รู้จะบอกอาจารย์อย่างไรเพราะว่าเราก็รับทุนเขามา คุยกับครอบครัว เพื่อนสนิทและผู้ใหญ่ที่เคารพ เขาก็บอกว่าตัดใจเถอะ งานกลับไปทำเมื่อไหร่ก็ได้ โอกกาสที่เรามีในการเรียนนี้หายาก เราก็ฟังแต่ก็แอบดื้อยู่ในใจ ฟุ้งซ่านอยู่เกือบ 2 อาทิตย์กว่าจะตัดใจได้

เรื่องนี้เล่าเป็นอุทธาหรณ์ เนื่องจากได้การเตือน และเห็นจากรุ่นพี่เหมือนกันมา บางท่านต้องทำงานไปและเรียนไปด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่หนักมากที่จะมีสมาธิกับวิทยานิพนธ์อย่างเต็มที่ จึงอาจต้องใช้เวลามากกว่าปกติ ผู้เขียนก็จำได้ดีตอนที่ ตัดสินใจรับงานที่เจนีวาก่อนเรียนจบปริญญาโท ต้องขอยืดไปเกือบ 3 เทอมกว่าจะเขียนวิทยานิพนธ์เสร็จ นั่นขนาดแค่ประมาณ 50 หน้า แค่คิดถึงวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก กว่า 250 หน้า ขอคารวะผู้ที่เรียนด้วยทำงานด้วยจริงๆ รุ่นพี่ผู้เขียน 2-3 ท่านต้องออกไปทำงานเพราะทุนหมดหลังจาก 3 ปี บางคนก็ใช้เวลา 4-5 ปี กัน เท่าที่ถามดูก็ต้องใช้แรงอึดกันมาก ตอบคล้ายๆกันว่าไหนๆก็ทำ (ทรมาน) มาขนาดนี้แล้วก็เอาให้เสร็จ

เริ่มปลีกตัว เศร้าซึม – 4 อาทิตย์ผ่านไป 6 อาทิตย์ผ่านไป ตอนนั้นประมาณเดือนกันยายน งานก็ยังดูนิ่ง นับไปนับมานี่เราก็กำลังเข้าสู่ปีที่ 2 ยิ่งคิดยิ่งฟุ้งซ่าน ชระหว่างที่หมีปัญหาเรื่องโมเดล และตัดสินใจเรื่องงานนั้นแทบไม่ได้คุยกับคนที่มหาวิทยาลัยเลย ส่วนใหญ่ก็อยู่ในสายทางไกล เแต่การที่ไม่มีคนสนิทที่อยุ่ใกล้ตัวก็เหมือนทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว และขาดแรงสนับสนุน (lack of support) ตอนนั้นก็เริ่มปลีดตัวจากงานสังสรรค์ทั่วไป ไม่อยากตอบคำถามคนอื่นว่างานไปถึงไหนแล้ว เริ่มกินไม่ได้ นอนไม่หลับ จริงๆแล้วเพื่อนรุ่นที่ อาจารย์บอกว่า ความเศร้าซึมของนักศึกษาปริญญาเอกนั้นเป็นเรื่องปกติ (PhD blues) แต่อย่างว่า ตอนนั้นกำลังเครียดใครพูดอะไรก็ไม่เชื่อ

ทางเลือกอีทางตอนนั้นก็คือ ไปปรึกษา บำบัด พูดคุยไม่แน่ใจว่าจะแปลอย่างไร (counseling) เป็นส่วนบริการฟรีของมหาวิทยาลัย ผู้ที่เป็นเจ้าหน้าที่ไม่ได้ถึงขนาดเป็น นักจิตแพทย์ แต่เป็นเหมือน นักจิตบำบัด (psychotherapist มีคำเรียกเล่นว่า shrink) ที่ได้รับการเทรนแบบทางการจิตวิทยา เป็นขั้นตอนแรกไม่มีการสั่งยา Counseling center ดูทันสมัยมาก เหมือนเข้าไปหาหมอ แต่ละ session ประมาณ 30-60 นาที เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทำงานกับนักเรียน เขาก็เข้าใจปัญหาเราแล้วก็แนะนำเทคนิคในการระงับความตระหนก (panic attack) การปล่อยวาง ลดความหมกหมุ่น สอนใหม่เรื่องการกิน ตอนนั้นเครียดก็กินแต่กาแฟกับขนมหวานซึ่งก็ยิ่งทำให้อารมณ์แปรปรวน รมีปัญหาเรื่องการนอน บางทีก็แทบไม่ได้นอน บางวันก็นอนไม่เลิก ระบบร่างกายแปรปรวม พออ่อนเปรี้ยก็ไม่ได้ ออกกำลังกาย จริงๆก็อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องที่รู้กัน (commonsense) แต่ตอนนั้นคนมันเครียด มองอะไรก็มืดไปทุกด้านๆ มีคจนพูดให้ฟังก็ดีเหมือนกัน การไปบำบัดนั้นอาจฟังดูไม่คุ้นเคยในสังคมไทย เหมือนเป็นวัฒนธรรมทางตะวันตก ผู้เขียนเรียนจิตวิทยาเป็นวิชารองตอนเรียนที่ธรรมศาสตร์ จึงมีความสนใจด้านนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะในสังคนที่เร่งรีบ เร่งรัดในปัจจุบันที่ความกดดันรอบข้าง การมีที่ระบายและพูดคุยให้เห็นหนทาง (perspective) จึงเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งถ้าเรายอมที่จะเปิดรับมัน ที่นิวยอร์คมีการแซวว่า “everyone has a shrink, even a shrink has a shrink” ในที่สุดก็ไปประมาณ 6 sessions ในเวลา 8 อาทิตย์ จนถึงเดือนพฤศจิกายน ตลอดเวลานั้นก็เขียนงานได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น โมเดลก็ยังมีปัญหาแต่ก็พยายามทำส่วนอื่นของวิทยานิพนธ์ที่พอทำได้ไปก่อน เพราะว่าถ้าคิดเป็นเล่มนี่ เดี๋ยวก็ตระหนกอีก ก็เลยทำเป็นชิ้นๆ ส่วนนู้นส่วนนี้ (piecemeal approach) ตอนนั้นยึดแค่ว่าทำให้ได้มากกว่าเมื่อวานก็ดีแล้ว ต้องปลอบใจตัวเองกันพอสมควร

กลับบ้านไปพักดีกว่า – ตอนนั้นพอถึงเดือนธันวาคมก็ พอดี 20 เดือนใน PhD แล้ว ก็พยายามมองยอนกลับไปในแง่ที่ดี อย่างน้อยก็ได้ลงภาคสนามแล้ว วิเคราะห็ไปแล้วบางส่วน เริมเขียนไปบ้างแล้ว แต่ก็ไม่ไหวแล้ว อยากที่จะพักสักหน่อย ยังไงก็ยังหนทางอีกไกลพอสมควร กลับบ้านสักพักดีกว่า ถึงแม้ผู้เขียนจะออกมาอยู่ต่างประเทศกว่า 6 ปีแล้วก็หาทางกลับบ้านทุก 6 เดือน เมืองไทยก็คือบ้าน และคือวิมานของเรา เป็นเมืองพ่อเมืองแม่ มีคนถามพอสมควรว่า เมื่อไหร่จะกลับมาปักหลักปักฐาน เราก็ไม่รีบ ครอบครัวก็บอกว่าบ้านก็คือบ้าน แต่ครั้งนั้จำได้เป็นการกลับไปที่สำคัญ คิดถึงพ่อแม่ ญาติ และเพื่อนๆ ไปเติมกำลังใจ (และอาหารไทย) แล้วค่อยกลับมาว่ากันใหม่

0 Comments:

Post a Comment

<< Home