3/12/2008

จากลูกถึงพ่อ ตอนที่ 4 (Letter to Dad No.4)

Year 2 Part I: การลงภาคสนาม Fieldwork (Jan-April 2005, Bangkok)

การลงภาคสนามเป็นช่วงปฏิบัติการในการเก็บข้อมูลในการวิจัย ระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับวิธีการ ในการวิจัย สำหรับนักศึกษาและทีมผู้ช่วยวิจัยที่ลงมือเก็บข้อมูลเอง (primary data collection) จากแบบสอบถาม สัมภาษณ์ ขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มอาจใช้เวลาถึง 6-12 เดือน เพื่อนนักศึกษาที่ผู้เขียนรู้จักในภาควิชาอื่นเช่น มนุษยวิทยา (anthropology) ที่ต้องไปอยู่คุ้นเคยกับสถานที่ และภาษา และใช้การศึกษาแบบพูดคุยสังเกตการณ์ อาจใช้เวลากว่า 12-24 เดือนในการทำภาคสนาม หรือเพื่อนอีกหลายท่านที่เรียนประวัติศาสตร์ (history) ก็ต้องไปอยู่ในที่เก็บเอกสาร (archive) กันเป็นเวลาหลายเดือน กว่าจะปะติดปะต่อเรื่องราว และสร้างพล็อตมาเขียนได้

ช่วงเดือนแรกตอนกลับเมืองไทยก็ใช้เวลาตามห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ (มหาวิทยาลัยมหิดล ธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์) เข้าออกหน่วยงานสังกัดต่างๆของกระทรวงสาธารณสุข ความช่วยเหลือและคำปรึกษาของ คุณหมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวง และทีมคุณหมอวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร สำนักงานนโยบายสาธารณสุขระหว่างประเทศ (International Health Policy Program) นำโดย ได้กรุณาเอื้อเฟือสถานที่ และให้โอกาสผู้เขียนได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายสาธารณสุข ซึ่งผู้เขียน ยังระลึกถึงความช่วยเหลือจากพวกท่านเสมอ ผู้เขียนได้รับข้อมูลคำปรึกษาทางด้านนโยบายความยากจนและการกระจายรายได้จาก คุณวรัญญา เตียวกุลของสภาพัฒนาความมั่งคงและเศรษฐกิจแห่งชาติ (National Economic and Social Development Board) อาจารย์สมชัย จิตสุชนของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development and Research Institute) ให้โอกาสผู้เขียนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนะในการประยุกต์เครื่องมือทางเศรษฐศาตร์ที่ใช้ในการวัดความไม่เท่าเทียมทางการกระจายรายได้ (income inequality) ในการมาประยุกต์ใช้ทางด้านสุขภาพ

งานภาคสนามของผู้เขียนจริงๆแล้วก็ไม่ใช่แบบเก็บข้อมูลเองเนื่องจากเป็นการใช้ข้อมูลชั้นสอง (secondary data) จากข้อมูลสำรวจครัวเรือนในระดับชาติ (national household survey) ซึ่งสำรวจ และเผยแพร่โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (National Statistical Office) ผู้เขียนใช้ข้อมูลจากสำรวจสวัสดิการและอนามัยเพื่อดูคำถามเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและการใช้บริการเพื่อจะวัดความไม่เท่าเทียมทางด้านสุขภาพระหว่างคนจน-คนรวย (“measuring health inequalities”) โดยเฉพาะก่อนและหลังนโยบานประกันสุขภาพถ้วนหน้า (universal health coverage) ด้วยความที่ผู้เขียนอยากรู้อยากเห็นว่าข้อมูลเหล่านี้มาเก็บอย่างไร ก็เลยติดต่อสำนักงานสถิติส่วนจังหวัดเพื่อขอติดตามเจ้าหน้าที่ไปสังเกตการณ์การเก็บข้อมูล (มาทราบทีหลังว่าจริงๆแล้ว จะต้องทำเรื่องเป็นทางการขอกับสำนักงานส่วนกลางก่อน ขออภัยค่ะ) แต่การติดตามไปดูการเก็บข้อมูลตอนนั้น ( จังหวัดในภาคกลาง) เป็นประสบการณ์ที่มีความหมายมากต่อผู้เขียน ผู้เขียนชื่มชมเจ้าหน้าที่สถิติจังหวัด และเจ้าหน้าที่ภาคสนามมาก ครัวเรือนที่ไปดูอยู่ไกลมาก เจ้าหน้าที่ต้องขี่มอเตอร์ไซค์กันหลายกิโล สำหรับครอบครัวที่เห็น ผู้ตอบคำถามให้ความร่วมมืออย่างดี ถึงแม้บางแบบสอบถามค่อนข้างยาว อบทนทั้งคนถามและคนตอบ สำนักงานสถิติมีเครือข่ายทั่วประเทศและเป็นแหล่งผลิตข้อมูลทางสังคมที่น่าชื่นชมมาก ผู้เขียนกลับมาจากภาคสนามด้วยความเข้าใจและมั่นใจในกระบวนการเก็บข้อมูลมากขึ้น

เนื่องจากผู้เขียนไม่เคยวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่มาก่อน (50,000 record ต่อปีที่ศึกษา ใช้ 3 ปี 2001, 2003, 2005) ตอนได้ข้อมูลดิบ (raw data) ก็อึ้งไปเหมือนกัน มีแต่ตัวเลขทั้งหมด (Ascii file) ไม่รู้อะไรเป็นอะไร กว่าจะจำความมาแปรตวเลขกับพจนานุกรมตัวเลข (data dictionary) ใช้เวลาเป็นเดือน เนื่องจากไม่มีอาจารย์อยู่ที่เมืองไทย ก็ใช้วิธีเรียนรู้แบบมวยวัดด้วย ตนเองถามคนนู้น คนนี้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พอแกะข้อมูลออกแล้วก้ต้องเริ่มลองเล่นกับข้อมูล (descriptive data analysis) เพื่อเข้าใจการกระจายตัวของข้อมูล เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ ถิ่นที่อยู่ ประกอบกับตัวแปรผลลัพธ์ทางด้านสุขภาพ ขั้นตอนนี้สำคัญมากก่อนที่จะเริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูล เหมือนกับการเตรียมตัวและทำความรู้จักกับ เครื่องปรุงและวัตถุดิบ (ingredients) ก่อนเริ่มทำอาหาร มัวแต่ยุ่งกับข้อมูลเวลาก็ผ่านไปเร็วเหมือนโกหก 4 เดือนแรกของปีที่ 2 ก็ผ่านไป

ผู้เขียนต้องขอออกตัวว่าน่าเสียดายที่ไม่มีประสบการณ์ตรงในการเก็บข้อมูลภาคสนามทมาเล่าให้ฟัง รุ่นที่หลายท่านที่เก็บข้อมูลเองก็เล่ากันอย่างเมามันถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ การหาทีมผู้ช่วยวิจัย การออกไปตระเวณสัมภาษณ์ตามครัวเรือน หรือการต้องไปกินอยู่เป็นเดือนเป็นปีเพื่อสังเกตการณ์ ก็อย่างี่เขาเอามาทำเป็นละครว่านักศึกษาปริญยาเอก ปลอมตัวมาเป็นคนใช้เพื่อเขียนวิจัยเรื่องความเป็นอยู่ของคนงานในบ้าน (domestic worker) หรือที่ต้องไปฝรั่งที่ไปทำวิจัยเกี่ยวกับเรื่องประเทศไทยถิ่นที่ค่อนข้างธุรกันดาล รุ่นมี่อีกท่านทำวิจัยเรื่อเพศสัมพันธ์ในเก็กวัยรุ่น โอ้โฮ ฟังเรื่องการเก็บข้อมูลของแกมันหยด สนุกและตื่นเต้นมาก ทำเอางานเราดูเกือบจะน่าเบื่อไปเลย

สรุปว่าประสบการณ์ภาคสนามเป็นความทรงจำที่ดีมาก ได้กลับไปอยู่เมืองไทยสักพักหลังจากออกมากว่า 5 ปี รู้สึกได้กลับไปค้นคว้าเรื่องที่เป็นวิชาการเกี่ยวกับเมืองไทย ซึ่งก็หวังว่าจะได้เป็นประโยชน์ การกลับไปครั้งนี้ในลักษณะการเป็นนักศึกษาปริญญาเอกนั้น ได้รับการยอมรับและเปิดโอกาศจากผู้ใหญ่ ตอนผู้เขียนออกจากเมืองไทยพึ่งจะจบปริญญาตรี ไม่กี่ปีผ่านไปได้นั่งคุยแลกเปลี่ยนและขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นเรื่องี่ผู้เขียนภาคภูมิใจมาก ถึงจุดนั้นก็ได้รู้สึกมากขึ้นว่าการกลับมาเรียนครั้งนี้มีความหมายมาก

0 Comments:

Post a Comment

<< Home