4/29/2009

My 3 years in Switzerland (2)

กรุงเจนีวาเป็นเมืองศูนย์กลางขององค์กรระหว่างประเทศ (international governmental and non-governmental organizations แตกต่างที่บางส่วนมีรํฐบาลเป็นคณะกรรมการ - IGOs ถ้าไม่มีรัฐบาลเป็นส่วนกลางก็เป็น NGOs) ทั้งที่เป็นของสหประชาชาติ (United Nations) องค์กรการค้าระหว่างประเทศ (WTO - World Trade Organization) องค์กรอนามัยโลก (WHO - World Health Organization) องค์กรแรงงานระหว่างระเทศ (International Labour Organization) องค์การส่วนราชการ ของแต่ละประเทศ (permanent missions to the United Nations) องค์กรที่ทำงานด้วย IOM - International Organization for Migration เน้นทางด้านผู้อพยพ มีศุนย์หลักอยู่ที่เจนีวา (headquarter) แต่ก็มีหน่วยภาคพื้นทั่วโลก (field missions)


ปกติเวลานั่งรถโดยสารประจำทางไปทำงานนี่ก็จะเห็นมีแต่คนใส่สูทโดย เฉพาะสาย F และสาย 5 ที่ผ่านย่านองค์กรต่างๆ ซึ่งก็เป็นสายที่นั่งไปทำงานที่ IOM บน route de morillons ติดกับองค์กร UNAIDS ตอนหลังก็มีรถไฟบนดินไปถึงย่านนั้นด้วย ซึ่งก็พอเดินผ่านไปได้เนื่องจากกรุงเจนีวามีองต์กรและราชการระหว่างประเทศมาก ก็มีเจ้าหน้าที่ที่เปลี่ยนกันทุกๆ 4 ปีและมีคนเข้าคนออกอยู่เรื่อย ไม่ว่าจะเป็นรุ่นใหญ่ หรือรุ่นเล็ก (young professional) เหมือนแตง ส่วนมากก็จะจบทาง รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และกฎหมายระหว่างประเทศ แต่คนที่มาจากยุโรปนี่เขาพูดได้หลายภาษา ซึ่งก็ได้เปรียบในจุดหนึ่ง (ภาษาหลักขององค์กรสหประชาชาติมี 6 ภาษา อังกฤษ ฝรั่งเศส สแปนิช รัสเซีย จีน อารบิค แต่ IOM ใช้แต่ 3 ภาษาแรก) เนื่องจากมีนักเรียนจบใหม่อยากฝึกงาน (intern) และหางานเยอะ การแข่งขันค่อนข้างสูง ตอนอยู่กับที่หน่วยงาน 3 ปีเห็นเปลี่ยนหน้ากว่า 20 คน ส่วนมากก็อยากได้งานต่อ แต่การแข่งขันสูงมาก ทุกคนมีความสามารถ แต่บางทีก็ต้องดูความหลากหลาย เพราะองค์ระหว่างประเทศต้องเป็นตัวแทนของทุกทวีป (representative) ทั่วโลก นี่ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่เจ้านายเลือกที่จ้าง เรา (ตัวแทนเอเซีย) และเพื่อน) แต่เนื่องจากพวกเรารุ่นเล็ก (junior) ทำงานตามโปรเจ็ค (project) จากรัฐบาล ก็ต้องทำงานตัวเป็นเกลียว หางเป็นน็อตหาโปรเจ็คเข้าอย่างต่อเนื่อง ถ้าเป็นรุ่นใหญ่ (senior) บางทีเขาก็ไม่ได้จากโดยองค์กรโดยตรง แต่มาจากรัฐบาลโดยตรงแบบชั่วคราว (secondment) อย่างเจ้านาย 3 ท่าน มาจากรัฐบาลออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกาและแคนาดา พอครบ 4 ปีก็ย้ายกลับ แต่บางคนก็ตัดสินใจย้ายเข้ามาทำให้องค์กรโดยตรงก็มี

ในระบบ UN ตำแหน่งจะแบ่งคร่าวๆเป็น เจ้าหน้าที่ต่างประเทศ P = Professional (P1-P5) พอสูงๆจะเป็นตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้บริหาร แล้วถึงจะเป็นระดับผู้อำนวยการ D = Director (D1-D2 สูงกว่านั้นก็เป็นเลขาธิการ - Secretary General สูงมาก) พวกนี้เนื่องจากเป็นแบบอินเตอร์ ต้องย้ายทุก 3-5 ปี G = General Staff (G1-G11) เป็นพนักงานต่างๆ เช่นธุรการ ส่วนมากเป็นคนท้องถิ่น (local) ไม่ต้องย้าย เงินเดือนเป็นแบบท้องถิ่น นอกจากนั้นก็มี เจ้าหน้าที่ประจำประเทศ (National Staff) ถ้าถามว่าเงินเดือน UN สูงไหม ก็พอสมควร ก็ต้องไม่ด้อยกว่าสากลมาก ไม่อย่างนั้นคนก็ย้ายออกไปส่วนเอกชน จากประสบการณ์เป็น P นั้นเงิ้นเดือนฐาน (base salary) เท่ากันทั่วโลก แต่จะต่างกันที่ ค่าครองชีพของสถานีประจำ (post-adjustment) เช่นถ้าเจนีวาก็จะได้ 65% เพิ่มจากเงินเดือน ถ้าอยู่ในพนมเปญ ค่าครองชีพถูกกว่า อาจเป็น 30% เพิ่มจากเงินเดือน ดูได้จาก เว็บไซด์ UN เขาเปิดเผย


ฤดูกาล - เจนีวาก็เหมือนประเทศยุโรปแถวนั้น ในความรู้สึกซึ่งอาจไม่เป็นทางการ ฤดูใบไม้ผลิ Spring (มีนาคม-มิถุนายน), ฤดูร้อน Summer (กรกฎาคม-สิงหาคม), ฤดูใบไม้ร่วง Autumn/Fall (กันยายน-ตุลาคม), ฤดุหนาว Winter (พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) เวลาเปลี่ยฤดูนี่ฝนตกมากและครึ้ม เข้าออฟฟิส 9 โมงเช้าก็มืด ออกมา 5 โมงเย็นมืด ก็เลยเข้าใจที่เขาบอกว่า อากาศทำให้หดหู่ ยิ่งถ้าแถวสแกนดิเนเวียนี่ได้แดดน้อยมาก ฝรั่งเขาถึงชอบไปรับแดดแถวบ้านเรา จำได้ว่าช่วงที่มืดมากๆ ต้องเอาโปสเตอร์ไปปิดทับหน้าต่าง จะได้ไม่เห็นข้างนอก ไม่งั้นไม่มีแรงทำงาน



ภาษา - ชื่อเมืองเจนีวา เรียกตาม ภาษาฝรั่งเศส: Genève, ภาษาเยอรมัน: Genf, ภาษาอิตาลียน: Ginevra เวลาฟังประกาศตามรถไฟเราไม่รู้ เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม เรียนภาษาฝรั่งเศส เรียนภาคค่ำ เดินไปเรียนหนาวก็หนาว แต่ก็ได้มาหลายคำพอเอาตัวรอดได้ เช่น Bonjour สวัสดีตอนเช้า, Bon Soir สวัสดีตอนกลางคืน, Bon nuit หลับฝันดี, Merci ขอบคุณ, Je ne sais pas ฉันไม่ทราบ , Je ne comprend pas ฉันไม่เข้าใจ-- อันนี้เป็นประโยชน์, Comment çava? สบายดีไหม, çava bien merci, et vous? สบายดี ขอบคุณ แล้วคุณหล่ะ Comme si Comme ça งั้นๆ Ou vien de vous? มาจากไหน Comment cous appelle? ชื่ออะไร Je m'appalle ฉันชื่อ Je suis Thalandais ฉันเป็นคนไทย Tu me menque ฉันคุณคิดถึง = ฉันคิดถึงคุณ Mon dieu โอ้ พระเจ้า! Sil vous plait (= please กรุณา)


ในเมื่อเจนีวาหนาวอย่างน้อย 4 เดือนต่อปี ไหนๆก็หนาวแล้วต้องใช้เป็นประโยชน์ ปกติเดินทางด้วย Swisspass เป็นรายวัน ไปเมืองต่างๆ เช่น เทศกาลบอลลูน Balloon Fiesta ที่เมือง Château-d'Oex ทุกปีเดือนมกราคม เล่นสกี มีทั้งแบบลงเขา (downhill) และแบบทางเรียบ(Cross-country ski) Snow shoeing Mount Jura ไม่ไกลจากเจนีวามาก หรือ ขับไปประมาณ 3 ชั่วโมง ไป Mont Blanc


พอหน้าร้อนก็ต้องรีบออกมาข้างนอก ว่ายน้ำกับเป็ดที่ทะเลสาบ ปิคนิค ขี่จักรยานออกไปเจออากาศข้างนอก วันอาทิตย์ที่นั่นเป็นวันครอบครัวจริงๆ ร้านค้าส่วนมากก็ปิด ปกติร้านรวงก็ปิดเร็ว ซุปเปอร์มาร์เก็ต Supermarket ก็ปิดประมาณ 6 โมงครึ่ง เลิกงานถ้าจะซื้อกับข้าว ก็ต้องรีบกลับ ยังดีที่วันพฤหัสบดีร้านปิดดึกหน่อย ประมาณ 3 ทุ่ม วันศุกร์เป็นส่วนมากก็จะไปสังสรรค์กับเพื่อน หรือไม่ก็ทานอาหารสาย (brunch) วันอาทิตย์ เพราะว่าเจนีวา เป็นเมืองค่อนจ้างเล็กมีคนต่างชาติที่มาทำงานองค์กรที่ต้องย้ายทุกไม่กี่ปี ถ้ามีโอกาศเขาก็จะพยายามจัดมำกิจกรรมร่วมกัน

การออกไปอยู่ต่างประเทศนั้น หาเพื่อนได้ตลอด จริงๆแล้วถึงแม้ว่าเราจะเข้ากับเพื่อนหลายๆ กลุ่ม แต่เราก็สามารถรักษาความเป็นไทยของเรา การไปอยู่ต่างประเทศนานๆ รู้จักตัวเองมากขึ้นว่า ความเหมือน ความแตกต่างสิ่งที่เป็นเราชอบ และมีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมขณะที่ยังคงความเป็นตัวของตนเอง ความเหงาเป็นเรื่องธรรมดา อยู่ที่ไหนก็เหงา ก็เบื่อได้ แต่ถ้าใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ทำงานเต็มที่ เห็นเป็นความท้าทาย เรียนภาษาและทักษะอื่น หากิจกรรมที่ชอบ ทำความรู้จักสถานที่ใหม่ และผู้คนรอบข้าง ติดต่อเล่าสู่กันฟังกับที่บ้าน อยู่ที่ไหนก็สุขได้

0 Comments:

Post a Comment

<< Home