10/07/2010

รักเรื่องที่เรียน รักงานที่ทำ รักครอบครัวที่มี รักร่างกายตัวเอง

พระพุทธเจ้าตรัสไว้กว่า 2550 ปีที่แล้วว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ การไม่มีสุขภาพที่ดี ถึงจะมีลาภแค่ไหนก็ไม่มีความหมาย เห็นจะเป็นความจริงที่ใครๆก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ การรักษาสุขภาพให้ดีมีความสำคัญต่อตนเอง จะปฏิบัติหน้าที่ประจำวัน การเรียนหรือการทำงานเป็นไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ ความสำคัญต่อครอบครัวไม่เป็นภาระให้ใคร ความสำคัญต่อสังคม เมื่อสุขภาพดีจึงจะทำประโยชน์ได้

กายและใจเป็นของคู่กัน
กายนำจิต กายดี จิตดี
จิตนำกาย จิตดี กายดี
กายคู่จิต ยิ่งไปกันด้วยดี

องค์การอนามัยโลก (2491) ภาวะแห่งความสมบูรณ์ทางร่างกาย จิตใจ และการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี ไม่ใช่เพียงแต่ความปราศจากโรค หรือทุพพลภาพเท่านั้น แต่สุขภาพมีความหมายเชิงบวกครบทุกด้าน ทางกาย จิตใจ สุขภาพทางสังคม รวมทั้งสุขภาวะที่ดี

คนเราเกิดมาอาจมีความแตกต่างหลาย ๆ ด้าน แต่ก็ต้องเผชิญปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เผชิญปัญหา มีอาการเจ็บป่วยทางกาย อาการทางใจ ทางความรู้สึก ความคิด อารมณ์ ความทุกข์หนักใจ ซึ่งในแต่ละช่วงอายุ

วัยเด็ก ร่างกายบอบบาง เต็มไปด้วยพัฒนาการที่สำคัญ
วัยเรียน ต้องใช้สมองในการเรียนรู้ จดจำ พัฒนานิสัยทางสุขภาพในอนาคต
วัยรุ่น เผชิญการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ทางเพศ จิตใจ และสภาพสังคม
วัยผู้ใหญ่ ความเครียดอาชีพการงาน สร้างครอบครัว ดูแลพ่อแม่ที่ชราภาพ
วัยสูงอายุ สุขภาพที่เริ่มเสื่อม ปรับตัว ซ่อมเสริมทั้งร่างกาย และจิตใจ

การค้นหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทั้งทางร่างกาย และจิตใจจึงไม่มีการที่จะสายเกิน เริ่มได้ในทุกวัย ด้วยการลดความเครียด เน้นความพอเพียง สม่ำเสมอ และรักษาความกระตือรือร้น ในชีวิตประจำวัน อาจจะเริ่มใกล้ตัว

เรียนรู้ที่จะ

รักเรื่องที่เรียน

รักงานที่ทำ
รักครอบครัวที่มี
รักร่างกายตัวเอง


0 Comments:

Post a Comment

<< Home